วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคสะเก็ดเงินกับการรักษาด้วยวิถีทางโภชนาการ

โรคสะเก็ดเงิน ( Psoriasis ) 

เป็น โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย บางคนอาจเรียก โรคสะเก็ดเงิน ว่า เรื้อนกวาง เหตุที่เรียกว่า โรคสะเก็ดเงิน เพราะผื่นที่เกิดขึ้นจะเป็นตุ่มสีแดงมีขอบชัด และบนผื่นจะมีขุยสีขาว ดูเหมือนมีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงินปกคลุมอยู่ ทำให้มีการเรียกชื่อโรคนี้ว่า โรคสะเก็ดเงิน ตามลักษณะของผื่นนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคสะเก็ดเงิน

          โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน และมีปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ โดยปัจจัยภายใน เช่น การเกิดโรคต่าง ๆ ภาวะทางจิตใจ ความเครียด ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การรับประทานอาหาร หรือยาบางชนิด การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน การติดเชื้อโรคต่าง ๆ การเกา แกะผิวหนัง ฯลฯ

ชนิดของ โรคสะเก็ดเงิน

          ประเภทของ โรคสะเก็ดเงิน แบ่งได้ตามลักษณะของผื่น คือ

-Plaque
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะเป็นผื่นแดงนูนหนา มีขอบชัดเจน บนผื่นจะมีขุยสีขาวเงิน ซึ่งสะเก็ดนี้เป็นเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ผิวหนังบริเวณผื่นมักจะแห้ง คัน และเกิดเป็นแผลได้ง่าย แพทย์เรียกชนิดนี้ว่า psoriasis vulgaris

-Guttate
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นเหมือนรูปหยดน้ำสีแดง ๆ เล็ก ๆ พบมากที่ลำตัว แขน ขา โดยผื่นนี้จะไม่หนาเท่าชนิด Plaque ผื่นสามารถเกิดขึ้นได้หากผิวหนังติดเชื้อ มักพบในเด็กและวัยรุ่น

-Inverse
          เป็น สะเก็ดเงิน ที่มักพบในคนอ้วนที่มีเหงื่อออกมาก และระคายเคือง ลักษณะผื่นจะราบเรียบ ผิวแห้ง อักเสบแดง ไม่มีขุย และไม่หนา มักพบตามข้อพับ รักแร้ เต้านม ก้น

-Erythrodermic
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ชนิดที่พบได้น้อยที่สุด มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นสะเก็ดเงินหลุดง่าย โดยผื่นชนิดนี้จะแดง กระจายไปทั่ว และมักจะมีอาการบวม ปวด และคันร่วมด้วย

-Generalized Pustular
          เป็นผื่นสะเก็ดเงินแดง บวมปวด และมีตุ่มหนองเกิดขึ้น หากแผลแห้งแล้วก็สามารถกลับมาเป็นหนองได้อีก

-Localized Pustular
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นตุ่มหนองเกิดขึ้นที่บริเวณมือและเท้า ขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร

อาการของ โรคสะเก็ดเงิน

          อาการ สะเก็ดเงิน มักจะเกิดเป็นผื่นแบบเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งโรคสะเก็ดเงิน จะกำเริบได้ เมื่อผิวหนังบาดเจ็บ เช่นจากการเกา ผิวไหม้จากแดด ติดเชื้อไวรัส หรือแพ้ยา โดยจะมีอาการดังนี้

-ผิวหนัง
          จะเริ่มเป็นผื่นเล็ก ๆ สีแดง มีขอบชัดเจน รูปทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุย หรือสะเก็ดสีขาวเงินติดอยู่ หากแกะขุยจะมีเลือดออก ก่อนที่ผื่นจะขยายวงกว้างออกไป ทั้งในรูปก้นหอย หรือหยดน้ำ มักเกิดที่ศอก เข่า ขา แขน คอ ศีรษะ

-เล็บ
          เล็บของผู้ที่เป็น สะเก็ดเงิน จะเป็นหลุมเล็ก ๆ ขรุขระ หรือมีการหนาตัวอยู่ในเล็บ หากเป็นมาก เล็บจะผุ ร่อนออกมาจากพื้นเล็บได้

-ข้อ

          ผู้ที่เป็น สะเก็ดเงิน หลังจากมีผื่นขึ้นตามลำตัวแล้ว จะเริ่มปวดข้อเล็ก ๆ ตั้งแต่ปลายนิ้วมือ เท้า มักเป็นสองข้าง บางครั้งอาจปวดตามข้อใหญ่ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อหลัง โดยอาการที่มักพบคือ ปวดข้อ บริเวณรอบข้อ ข้อติดในตอนเช้า หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้ข้อพิการได้

ความรุนแรงของ โรคสะเก็ดเงิน

เราสามารถแบ่งความรุนแรงของ โรคสะเก็ดเงิน ได้ 3 ระดับ คือ

          Mild Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นน้อยกว่า 2% มักพบเป็นแห่ง ๆ เช่น เข่า ข้อศอก หนังศีรษะ รักษาได้โดยการทายา

          Moderate Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นอยู่ระหว่าง 2-10% โดยมากมักขึ้นที่แขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ รักษาได้โดยการทายาและรับประทานยา

          Severe Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นมากกว่า 10% ทำให้ผิวหนังแดง เป็นตุ่มหนอง ผิวหนังหลุดลอก และผู้ป่วยมักจะมีอาการข้ออักเสบด้วย

 การรักษาโรค “สะเก็ดเงิน” ด้วยวิถีทางโภชนาการ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารรสหวาน,ผลไม้รสหวานมาก,เลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว  
- แป้งขาว เช่น ขนมปัง,เส้นก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซาลาเปา,ปาท่องโก๋  
- อาหารรสจัด,เค็มจัด,เผ็ดจัด,เปรี้ยวจัดและมีรสมันจัด  
- อาหารที่มีกลูเตนสูง,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ด,ข้าวบาร์เลย์,ข้าวไรน์  
- แอลกอฮอล์,คาเฟอีน (ชา,กาแฟ) ของหมักดอง  
- อาหารทะเล กุ้ง ปู และหอย (ควรงดเด็ดขาด)  
- เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว ให้เน้นทานเนื้อปลา  
- ลดในสิ่งที่ตัวเองแพ้ เช่น น้ำผึ้ง,ข้าวโพด  
- อาหารที่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี น้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย รำข้าว (น้ำมันพวกนี้มี OMEGA 6 สูงทำให้เกิดการอักเสบ) และไขมันทรานส์ (ตัวร้ายที่สุด)  
- ผู้ป่วยราว 20 % จะแพ้อาหาร (NIGHT SHADE) เช่น มะเขือเทศ,มะเขือ,มันฝรั่ง,พริกไทย,พริกใบยาสูบ(บุหรี่),ถั่ว,ข้าวโพด,งา  
- อาหารที่มีนมวัวผสม นมวัวมีโปรตีนเคซีน ร่างกายย่อยยาก  
- หลีกเลี่ยงสารเคมีโดยการสัมผัส,สูดดม และงดทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส,วัตถุกันเสีย
อาหารที่ควรรับประทาน
- น้ำมันมะพร้าว+กระเทียมเป็น SUPER ANTIOXIDANT ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูงเรียกว่ากรดอัลฟ่าไลไปอิด    
- การดื่มน้ำให้ถูกต้องและพอสำหรับร่างกาย 
- น้ำ เอนไซม์มี 2 ชนิด 1.ได้จากผักสด+ผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยย่อยอาหาร (ผู้ป่วยภูมิแพ้หรือสะเก็ดเงินจะมีอาการกรดในกระเพาะอาหารไม่เพียงพอ)  
- ข้าวกล้อง มีอิโนซิตอส ลดการอักเสบ (เลี่ยงข้าวขาว)  
- ผักตำลึง,ใบบัวบก,ย่านาง คั้นเป็นเครื่องดี่มมีฤทธิ์เย็นและมีเอนไซม์ย่อยแป้ง   
- มะละกอดิบ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน  
- ผักสด+ผลไม้ ทานสดมีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต   
- เน้นอาหารจากธรรมชาติ RAW FOOD ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด 
- วิตามินและเกลือแร่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
 
- อาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น  
- สาหร่ายทะเลช่วยส่งเสริมการทำงานไทรอยด์ (เพิ่มภูมิต้านทาน)
วิธีการดูแลรักษา   
วิธี การรักษาที่เขียนในบทความนี้เป็นวิธีที่ได้จากการรักษาจริง แล้วได้บอกต่อกับผู้ป่วยสะเก็ดเงินด้วยกัน ผลที่รักษาเป็นที่น่าพอใจ อาจเป็นช่องทางหนึ่งในหลายๆวิธีที่ผ่านการรักษาแผนปัจจุบันมาแล้ว
 
การรักษาแผลสะเก็ดเงินภายนอก(ผิว)ใช้อยู่ 2 วิธี

1) ใช้ยาทาผิวที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ 0.1% ใช้ไม่เกิน 10 วัน (ถ้ามากกว่านี้จะมีผลข้างเคียง ผิวหนังบาง ติดเชื้อง่าย ไหม้ มีสิว ระคายเคือง ผิวหนังแห้งแตก ต่อมใต้ผิวหนังอักเสบ สีดล้ำ และร่างกายจะขาดโปแตสเซียม) ทางเฉพาะบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินเท่านั้น ทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังจากสะเก็ดเงินบางลงหยุดใช้
 
ถ้า ไม่ใช้สเตียรอยด์ทา ยังมียากลุ่มอื่นที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ แต่มีราคาแพง เช่น โปรโทปิค (PROTOPIC) ยาอิริเดล (ELIDEL) แทนได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าสเตียรอยด์ ชนิดอ่อนและปานกลางเท่านั้น นับว่าเป็นทางเลือกได้อีกทางที่ช่วยระงับอาการคันได้

2) ใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวต่อเนื่อง ทาได้บ่อยๆ ผิวหนังจะชุ่มชื้นเข้าอาการสะเก็ดเงินจะควบคุมได้ดี และใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทาได้ตลอด

การรักษาแผลสะเก็ดเงินด้วยโภชนาการและการปฏิบัติตอนเช้าและก่อนนอน
 
1) ตื่นเช้าทำ OIL PULLING 15-20 นาที
 
2) ตามด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว
 
3) รับประทานสิ่งต่างๆเหล่านี้วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร
    - น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เพราะมีสารเคมี)  
    - กระเทียมสด หรือกระเทียมอัดเม็ด (อิมมิวนีท็อป 2000)          
    - เลซิติน (ไวทัล-เอ็ม)                                                                              
    - น้ำมันตับปลา                                                                         
    - บริวเวอร์ยีสต์                                                                        
    - ขมิ้นชัน                                                                               
    - N-ACETYLCYSTEIN (NAC LONG),(MUCIL)
    - Evening Primrose Oil (EPO)
 
4) อาหารแต่ละมื้อให้ดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และทานอาหารที่ควรรับประทาน อย่าลืมการดื่มน้ำที่ถูกต้อง
 
5) ออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
 
6) พักผ่อนให้สบาย ฝึกมองโลกในแง่บวก จิตแจ่มใส ผ่อนคลาย
 
7) เพิ่มอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักผลไม้, แตงกวา, ฟัก, ถั่วต้ม+เห็ดหูหนูขาว หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำใบบัวบก, ย่านาง, เก็กฮวย, จับเลี้ยง, น้ำถั่วเขียว เพื่อดับร้อนในร่างกาย ดื่มแทนน้ำทุกวันจะดีมาก ไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อย


  ที่มา เนเจอร์มายด์ดอทคอม กระปุกดอทคอม
  รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ท
  จาก www.health4friends.lnwshop.com