วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคสะเก็ดเงินกับการรักษาด้วยวิถีทางโภชนาการ

โรคสะเก็ดเงิน ( Psoriasis ) 

เป็น โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย บางคนอาจเรียก โรคสะเก็ดเงิน ว่า เรื้อนกวาง เหตุที่เรียกว่า โรคสะเก็ดเงิน เพราะผื่นที่เกิดขึ้นจะเป็นตุ่มสีแดงมีขอบชัด และบนผื่นจะมีขุยสีขาว ดูเหมือนมีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงินปกคลุมอยู่ ทำให้มีการเรียกชื่อโรคนี้ว่า โรคสะเก็ดเงิน ตามลักษณะของผื่นนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคสะเก็ดเงิน

          โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน และมีปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ โดยปัจจัยภายใน เช่น การเกิดโรคต่าง ๆ ภาวะทางจิตใจ ความเครียด ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น การรับประทานอาหาร หรือยาบางชนิด การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน การติดเชื้อโรคต่าง ๆ การเกา แกะผิวหนัง ฯลฯ

ชนิดของ โรคสะเก็ดเงิน

          ประเภทของ โรคสะเก็ดเงิน แบ่งได้ตามลักษณะของผื่น คือ

-Plaque
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่พบได้บ่อยที่สุด ลักษณะเป็นผื่นแดงนูนหนา มีขอบชัดเจน บนผื่นจะมีขุยสีขาวเงิน ซึ่งสะเก็ดนี้เป็นเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ผิวหนังบริเวณผื่นมักจะแห้ง คัน และเกิดเป็นแผลได้ง่าย แพทย์เรียกชนิดนี้ว่า psoriasis vulgaris

-Guttate
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นเหมือนรูปหยดน้ำสีแดง ๆ เล็ก ๆ พบมากที่ลำตัว แขน ขา โดยผื่นนี้จะไม่หนาเท่าชนิด Plaque ผื่นสามารถเกิดขึ้นได้หากผิวหนังติดเชื้อ มักพบในเด็กและวัยรุ่น

-Inverse
          เป็น สะเก็ดเงิน ที่มักพบในคนอ้วนที่มีเหงื่อออกมาก และระคายเคือง ลักษณะผื่นจะราบเรียบ ผิวแห้ง อักเสบแดง ไม่มีขุย และไม่หนา มักพบตามข้อพับ รักแร้ เต้านม ก้น

-Erythrodermic
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ชนิดที่พบได้น้อยที่สุด มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นสะเก็ดเงินหลุดง่าย โดยผื่นชนิดนี้จะแดง กระจายไปทั่ว และมักจะมีอาการบวม ปวด และคันร่วมด้วย

-Generalized Pustular
          เป็นผื่นสะเก็ดเงินแดง บวมปวด และมีตุ่มหนองเกิดขึ้น หากแผลแห้งแล้วก็สามารถกลับมาเป็นหนองได้อีก

-Localized Pustular
          เป็น โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นตุ่มหนองเกิดขึ้นที่บริเวณมือและเท้า ขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร

อาการของ โรคสะเก็ดเงิน

          อาการ สะเก็ดเงิน มักจะเกิดเป็นผื่นแบบเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งโรคสะเก็ดเงิน จะกำเริบได้ เมื่อผิวหนังบาดเจ็บ เช่นจากการเกา ผิวไหม้จากแดด ติดเชื้อไวรัส หรือแพ้ยา โดยจะมีอาการดังนี้

-ผิวหนัง
          จะเริ่มเป็นผื่นเล็ก ๆ สีแดง มีขอบชัดเจน รูปทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุย หรือสะเก็ดสีขาวเงินติดอยู่ หากแกะขุยจะมีเลือดออก ก่อนที่ผื่นจะขยายวงกว้างออกไป ทั้งในรูปก้นหอย หรือหยดน้ำ มักเกิดที่ศอก เข่า ขา แขน คอ ศีรษะ

-เล็บ
          เล็บของผู้ที่เป็น สะเก็ดเงิน จะเป็นหลุมเล็ก ๆ ขรุขระ หรือมีการหนาตัวอยู่ในเล็บ หากเป็นมาก เล็บจะผุ ร่อนออกมาจากพื้นเล็บได้

-ข้อ

          ผู้ที่เป็น สะเก็ดเงิน หลังจากมีผื่นขึ้นตามลำตัวแล้ว จะเริ่มปวดข้อเล็ก ๆ ตั้งแต่ปลายนิ้วมือ เท้า มักเป็นสองข้าง บางครั้งอาจปวดตามข้อใหญ่ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อหลัง โดยอาการที่มักพบคือ ปวดข้อ บริเวณรอบข้อ ข้อติดในตอนเช้า หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้ข้อพิการได้

ความรุนแรงของ โรคสะเก็ดเงิน

เราสามารถแบ่งความรุนแรงของ โรคสะเก็ดเงิน ได้ 3 ระดับ คือ

          Mild Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นน้อยกว่า 2% มักพบเป็นแห่ง ๆ เช่น เข่า ข้อศอก หนังศีรษะ รักษาได้โดยการทายา

          Moderate Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นอยู่ระหว่าง 2-10% โดยมากมักขึ้นที่แขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ รักษาได้โดยการทายาและรับประทานยา

          Severe Psoriasis คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่มีผื่นขึ้นมากกว่า 10% ทำให้ผิวหนังแดง เป็นตุ่มหนอง ผิวหนังหลุดลอก และผู้ป่วยมักจะมีอาการข้ออักเสบด้วย

 การรักษาโรค “สะเก็ดเงิน” ด้วยวิถีทางโภชนาการ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารรสหวาน,ผลไม้รสหวานมาก,เลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว  
- แป้งขาว เช่น ขนมปัง,เส้นก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซาลาเปา,ปาท่องโก๋  
- อาหารรสจัด,เค็มจัด,เผ็ดจัด,เปรี้ยวจัดและมีรสมันจัด  
- อาหารที่มีกลูเตนสูง,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ด,ข้าวบาร์เลย์,ข้าวไรน์  
- แอลกอฮอล์,คาเฟอีน (ชา,กาแฟ) ของหมักดอง  
- อาหารทะเล กุ้ง ปู และหอย (ควรงดเด็ดขาด)  
- เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว ให้เน้นทานเนื้อปลา  
- ลดในสิ่งที่ตัวเองแพ้ เช่น น้ำผึ้ง,ข้าวโพด  
- อาหารที่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี น้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย รำข้าว (น้ำมันพวกนี้มี OMEGA 6 สูงทำให้เกิดการอักเสบ) และไขมันทรานส์ (ตัวร้ายที่สุด)  
- ผู้ป่วยราว 20 % จะแพ้อาหาร (NIGHT SHADE) เช่น มะเขือเทศ,มะเขือ,มันฝรั่ง,พริกไทย,พริกใบยาสูบ(บุหรี่),ถั่ว,ข้าวโพด,งา  
- อาหารที่มีนมวัวผสม นมวัวมีโปรตีนเคซีน ร่างกายย่อยยาก  
- หลีกเลี่ยงสารเคมีโดยการสัมผัส,สูดดม และงดทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส,วัตถุกันเสีย
อาหารที่ควรรับประทาน
- น้ำมันมะพร้าว+กระเทียมเป็น SUPER ANTIOXIDANT ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูงเรียกว่ากรดอัลฟ่าไลไปอิด    
- การดื่มน้ำให้ถูกต้องและพอสำหรับร่างกาย 
- น้ำ เอนไซม์มี 2 ชนิด 1.ได้จากผักสด+ผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยย่อยอาหาร (ผู้ป่วยภูมิแพ้หรือสะเก็ดเงินจะมีอาการกรดในกระเพาะอาหารไม่เพียงพอ)  
- ข้าวกล้อง มีอิโนซิตอส ลดการอักเสบ (เลี่ยงข้าวขาว)  
- ผักตำลึง,ใบบัวบก,ย่านาง คั้นเป็นเครื่องดี่มมีฤทธิ์เย็นและมีเอนไซม์ย่อยแป้ง   
- มะละกอดิบ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน  
- ผักสด+ผลไม้ ทานสดมีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต   
- เน้นอาหารจากธรรมชาติ RAW FOOD ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด 
- วิตามินและเกลือแร่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
 
- อาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น  
- สาหร่ายทะเลช่วยส่งเสริมการทำงานไทรอยด์ (เพิ่มภูมิต้านทาน)
วิธีการดูแลรักษา   
วิธี การรักษาที่เขียนในบทความนี้เป็นวิธีที่ได้จากการรักษาจริง แล้วได้บอกต่อกับผู้ป่วยสะเก็ดเงินด้วยกัน ผลที่รักษาเป็นที่น่าพอใจ อาจเป็นช่องทางหนึ่งในหลายๆวิธีที่ผ่านการรักษาแผนปัจจุบันมาแล้ว
 
การรักษาแผลสะเก็ดเงินภายนอก(ผิว)ใช้อยู่ 2 วิธี

1) ใช้ยาทาผิวที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ 0.1% ใช้ไม่เกิน 10 วัน (ถ้ามากกว่านี้จะมีผลข้างเคียง ผิวหนังบาง ติดเชื้อง่าย ไหม้ มีสิว ระคายเคือง ผิวหนังแห้งแตก ต่อมใต้ผิวหนังอักเสบ สีดล้ำ และร่างกายจะขาดโปแตสเซียม) ทางเฉพาะบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินเท่านั้น ทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังจากสะเก็ดเงินบางลงหยุดใช้
 
ถ้า ไม่ใช้สเตียรอยด์ทา ยังมียากลุ่มอื่นที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ แต่มีราคาแพง เช่น โปรโทปิค (PROTOPIC) ยาอิริเดล (ELIDEL) แทนได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าสเตียรอยด์ ชนิดอ่อนและปานกลางเท่านั้น นับว่าเป็นทางเลือกได้อีกทางที่ช่วยระงับอาการคันได้

2) ใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวต่อเนื่อง ทาได้บ่อยๆ ผิวหนังจะชุ่มชื้นเข้าอาการสะเก็ดเงินจะควบคุมได้ดี และใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทาได้ตลอด

การรักษาแผลสะเก็ดเงินด้วยโภชนาการและการปฏิบัติตอนเช้าและก่อนนอน
 
1) ตื่นเช้าทำ OIL PULLING 15-20 นาที
 
2) ตามด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว
 
3) รับประทานสิ่งต่างๆเหล่านี้วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร
    - น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เพราะมีสารเคมี)  
    - กระเทียมสด หรือกระเทียมอัดเม็ด (อิมมิวนีท็อป 2000)          
    - เลซิติน (ไวทัล-เอ็ม)                                                                              
    - น้ำมันตับปลา                                                                         
    - บริวเวอร์ยีสต์                                                                        
    - ขมิ้นชัน                                                                               
    - N-ACETYLCYSTEIN (NAC LONG),(MUCIL)
    - Evening Primrose Oil (EPO)
 
4) อาหารแต่ละมื้อให้ดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และทานอาหารที่ควรรับประทาน อย่าลืมการดื่มน้ำที่ถูกต้อง
 
5) ออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
 
6) พักผ่อนให้สบาย ฝึกมองโลกในแง่บวก จิตแจ่มใส ผ่อนคลาย
 
7) เพิ่มอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักผลไม้, แตงกวา, ฟัก, ถั่วต้ม+เห็ดหูหนูขาว หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำใบบัวบก, ย่านาง, เก็กฮวย, จับเลี้ยง, น้ำถั่วเขียว เพื่อดับร้อนในร่างกาย ดื่มแทนน้ำทุกวันจะดีมาก ไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อย


  ที่มา เนเจอร์มายด์ดอทคอม กระปุกดอทคอม
  รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ท
  จาก www.health4friends.lnwshop.com

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีทำและใช้น้ำหมักชีวภาพหรือนํ้าEM


ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ

- เร่งการเจริญเติบโตของพืช
- เร่งการออกดอกของพืช
- เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น
- เป็นสารไล่แมลงศัตรูพืชง
- เป็นสารเสริมสุขภาพในคนและสัตว์
- บำบัดกลิ่นเหม็นในปศุสัตว์
-
ฉีดพ่นก่อนไถกลบตอซังทำให้ตอซังนิ่ม
- บำบัดน้ำเสียในการประมง
- เป็นสารเร่งและเป็นธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยหมัก


วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
จำแนกได้เป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด


2. การทำน้ำหมักชีวภาพจ่ากผลไม้


3. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลา


4. การทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสัตว์


5. การทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือน


6. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสูตรรวมมิตร


7. การทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช



วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด


ส่วนผสม

1. พืชสดทั่วไปที่หาได้ในหมู่บ้าน เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักขม ผักเสี้ยน
หรืออื่น ๆ ที่สดตัดให้เป็นชิ้นเล็กรวมกัน 3 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ส่วน
3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน
4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ

นำพืช กากน้ำตาลเปลือกสับปะรด และน้ำมะพร้าวตามอัตราส่วนผสมคลุกเคล้าด้วยกันบรรจุลงในถังหมักพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้

ประโยชน์ / วิธีใช้

-
เร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 - 7 วัน
- ใช้เป็นสารเร่งและเพิ่มคุณภาพปุ๋ยหมัก ใช้กำจัดกลิ่นน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์ใช้นำหมักชีวภาพ
15 - 20 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ราด รดให้ชุ่ม
- ให้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะปลูก 12 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แช่เมล็ดพันธุ์

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้


ส่วนผสม

1. ผลไม้สุก เช่น ฟักทอง มะละกอ กล้วยน้ำหว้า หรือมะเขือเทศรวมกัน 2 ส่วน
2. พืชสดหลาย ๆ ชนิดสับเป็นชิ้นเล็ก 1 ส่วน
3. กากน้ำตาล 1 ส่วน
4. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน
5. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ

นำผลไม้ พืชสด กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด น้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน บรรจุถังหมักพลาสติกปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้

ประโยชน์ / วิธีใช้

เร่งการติดดอก ติดผล ของพืชผักผลไม้ ใช้นำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ(20 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 5-7 วัน ตั้งแต่ระยะพืชออกดอก และติดผลได้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์


ส่วนผสม

1. เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียดหรือปลา 2 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ส่วน
3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน
4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ

นำหอยเชอรี่ทุบหรือบดละเอียดหรือปลา กากน้ำตาลและเปลือกสับปะรดผสมคลุกเข้าด้วยกัน ตามอัตราส่วน บรรจุลงถังหมักปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มนาน 15-30 วัน ใช้งานได้

ประโยชน์และวิธีใช้

ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช


วิธีทำ

1. ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพียงแต่เปลี่ยนชนิดพืชผัก ผลไม้เป็นชนิดพืชที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ บอระเพ็ด สาบเสือ อื่น ๆ
2. หรือจะใช้วิธีนำพืชดังกล้าวมาทุบหรือตำให้แตก แช่น้ำหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นพืชได้

ประโยชน์ / วิธีใช้

เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพทั่วไป

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำและใช้น้ำหมักชีวภาพ


1. ควรใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น ราด รดพืชผัก ผลไม้ในเวลาเช้าหรือเย็นไม่ควรให้ถูกแสงแดดเนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีชีวิต คือ จุลนทรีย์ที่เป็นประโยชน์

2. ไม่ควรใช้นำหมักชีวภาพร่วมกับสารเคมีทุกชนิด
3. เคล็ดลับการหมัก ให้คอยเขย่าถังหมักพร้อมเปิดฝาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่นว่าหอมหวานแสดงว่าดีใช้ได้ แต่ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลเพิ่มหมักต่ออีก 3 วัน แล้วให้ดมกลิ่นดู ถ้ายังมีรกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมกากน้ำตาลหมักไว้จนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน การเก็บน้ำหมักชีวภาพที่ดีต้องเก็บไว้ในที่มืดภายในอุณหภูมิห้องนาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างที่เก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวก็ให้เติมกากน้ำตาลลงไปแล้วหมักต่อ
4. การใช้น้ำหมักชีวภาพ ถ้าจะให้ได้ผลต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

การทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่

วิธีที่ 1 การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก

นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก และน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้นให้สักเกตุดู ว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไป ถือว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นน้ำหมักชีวภาพหอยเชอ รี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมผสานกับปุ๋ยน้ำอื่น ๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 การทำจากไข่หอยเชอรี่

นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้นำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือกแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อ จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืช

นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อน ๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้วเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหมักหัวเชื่อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3 : 3 : 1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 4 นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะ

พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะเพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจาก เปลือกได้ง่ายขึ้นและนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดให้ได้จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 5 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด

นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและชิ้นส่วนของพืชที่อ่อน ๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3 : 3 : 1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่4

วิธีที่ 6 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ไข่หอยเชอรี่และพืชสด

วิธีการนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้ อัตราส่วน ดังนี้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว :ไข่หอยเชอรี่ :พืชก่อน อัตรา 3:3:5-6:2:3 มีข้อสังเกตุเพียงดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อ
จุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใดให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหมัก เช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุ น้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตราเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจะลินทรีย์ธรรชาติอัตราการใช้พืชที่ อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1:500-10,000 หรือจาการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสมคือ 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุช่วงการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ


ส่วนผสม

1. มูลสัตว์แห้ง 3 ส่วน
2. แกลบดิบเปลือกถั่วหรือเศษพืช 3 ส่วน
3. แกลบดำ 1 ส่วน
4. รำละเอียด 1 ส่วน
5. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

นำส่วนผสมต่าง ๆ คลุกเข้าด้วยกัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักกองไว้ 5-7 วัน ในที่ร่มโดยจะกองกับพื้นดินคลุมด้วยกระสอบ หรือบรรจุกระสอบปิดปากก็ได้ถ้ามีใยสีขาวมีกลิ่นหอม แสดงว่าใช้งานได้

วิธีการทำปุ๋ยหมักดินชีวภาพ


ส่วนผสม

1. ดินแห้งทุบละเอียดหรือดินขุยไผ่ 5 ส่วน
2. มูลสัตว์แห้ง 2 ส่วน
3. แกลบดำ 2 ส่วน
4. รำละเอียด 2 ส่วน
5. ขุยมะพร้าว 2 ส่วน
6. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

นำส่วนผสม 1-5 ผสมคลุกเข้ากัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักไว้ 3-5 วัน มีราขึ้นกลิ่นหอมเหมือนเห็ดใช้งานได้

ประโยชน์ / วิธีใช้

เหมาะสำหรับผสมดินทั่วไป ใช้เพาะต้นไม้ ปักชำ ตอนกิ่ง จะทำให้ต้นกล้าไม้สมบูรณ์ แข็งแรง โดยใช้ปุ๋ยหน้าดินผสมดินร่วนแกลบเผาผสมคลุกเข้ากันให้ดีก่อนนำไปใช้ในอัตรา 1:1:1

การทำปุ๋ยคอกหมักชีวภาพ


ส่วนผสม

1. ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
2. แกลบเผา 1 ส่วน
3. รำละเอียด 1 ส่วน
4. น้ำหมักชีวภาพ และกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

นำส่วนผสมมาคลุกเข้าด้วยกัน รดน้ำด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม กองปุ๋ยหมักหนา ประมาณ 1.5 ซม. คลุมด้วยกระสอบพลิกกลับวันละ 1 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 วันนำไปใช้ได้

วิธีใช้

ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด ปุ๋ยคอกจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น

การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพกับไม้ผล ไม้ยืนต้น


การเตรียมหลุมปลูก

ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินเดิม คลุมด้วยฟาง รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วันก่อนปลูก

ไม้ผลที่ปลูกแล้ว

1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดกิ่งใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรบริเวณรอบทรงพุ่มคลุมด้วยฟางใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2 ครั้ง
2. รดด้วยน้ำหมักชีวภาพเพื่อกระตุ้นการแตกยอดจากใบใหม่ อัตรา 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตรเดือน ละ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตล
3. เมื้อไม้ผลติดดอก ติดผล ควรเพิ่มการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้หรือจากสัตว์ เป็นเดือน
 
จาก ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ความเป็นมาและประโยชน์น้ำหมักชีวภาพหรือEM
อาทิตย์ ที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553