วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาการคัน บ่งบอกโรค

อาการคันเป็นความรู้สึกไม่สบายผิวหนังที่ทำให้อยากเกา ประมาณว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคันเรื้อรังร้อยละ 10-50 จะตรวจพบว่ามีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของอาการคันร่วมด้วย คือ

อาการคันในผู้ป่วยโรคไต
มักคันเป็นครั้งคราว หรืออาจคันต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน  อาการคันมักกำเริบเวลากลางคืน หรือระหว่างทำการฟอกไตหรือเพิ่งทำเสร็จ และมักมีผิวแห้งทั่วไป

อาการคันในผู้ป่วยโรคตับ
มักคันเป็นช่วงๆ  คันไม่มากนัก อาจเป็นเฉพาะที่ หรือกระจายทั่วตัว มักคันมากที่มือและเท้า และตำแหน่งที่สวมเสื้อผ้ารัดรูป อาจพบผิวสีเหลืองที่เรียกดีซ่าน ไฝแดงลักษณะเหมือนแมงมุม เต้านมโตในผู้ชาย ก้อนไขมันสีเหลืองมักเป็นที่หนังตาบน ม้ามโต ผิวมีสีโคลน

อาการคันจากโรคเลือด
 มักคันเฉพาะที่ ซึ่งมักเป็นที่บริเวณรอบทวารหนัก และที่อวัยวะเพศหญิง ในโรคเลือดบางอย่างอาจคันหลังสัมผัสน้ำ มักเป็นหลังอาบน้ำร้อน หรืออาบฝักบัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดเหล็กจะมีผิวซีด อาจมีลิ้นและมุมปากอักเสบ

อาการคันจากโรคต่อมไร้ท่อ

มักเป็นทั่วร่างกาย และสัมพันธ์กับอาการของโรคที่เป็น  ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจคันเฉพาะที่ พบบ่อยที่อวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก พบบ่อยว่ามีการติดเชื้อยีสต์และเชื้อราร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีเล็บเปราะ ผิวและผมหยาบแห้ง ส่วนผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากจะมีผิวอุ่น เรียบ และละเอียด อาจมีโรคลมพิษเรื้อรัง อาการแสดงอื่นคือ มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ตาโปน

อาการคันในมะเร็ง
มักคันรุนแรงปานกลางถึงคันมาก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ แขนด้านนอกและหน้าแข้ง พบว่าอาการคันในรูจมูกอาจสัมพันธ์กับเนื้องอกในสมอง ส่วนอาการคันในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจนำมาก่อนการวินิจฉัยโรคนานถึง 5 ปี อาการคันในกลุ่มนี้จะคันจนทนไม่ได้ คันแบบต่อเนื่อง และคันรุนแรงมาก

อาการคันจากโรคเอดส์
อาจพบผื่นลอกเป็นขุยที่ใบหน้า (seborrheic dermatitis) ผิวแห้ง มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ติดเชื้อรา เชื้อไวรัส

การ ตรวจร่างกายช่วยแยกระหว่างอาการคันจากโรคผิวหนังโดยตรง และอาการคันที่เนื่องมาจากโรคภายในอื่นๆ โดยในกรณีที่คันจากโรคภายในผู้ป่วยจะมีผิวปกติ หรือมีรอยโรคที่เกิดจากอาการคัน เช่น รอยแกะเกาตุ่มนูนจากการเกา ผิวหนาเหมือนเปลือกไม้ หรือมีลักษณะการติดเชื้อที่ผิวหนัง ผู้ป่วยอาจมีลักษณะที่เรียกว่าอาการแสดงลักษณะผีเสื้อ (butterfly sign) คือ มีบริเวณผิวหนังสีจาง หรือสีผิวปกติที่กลางหลัง และมีผิวสีเข้ม หรือรอยเกาอยู่รอบนอกตามบริเวณที่เอื้อมมือเกาได้ถึง แสดงว่าอาการคันน่ามีสาเหตุจากโรคภายในอื่นๆ ร่วมด้วย




 
ภาพแสดง อาการแสดงลักษณะผีเสื้อ









ที่มา : หมอชาวบ้าน Online , health4friends.lnwshop.com

มะรุม ชะลอความแก่ ต้านมะเร็ง

"มะรุม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณ บ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วนทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ

ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือเรียก "มะค้อม- ก้อน" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น
           
มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย
มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๓-๔ เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็น ช่อสีขาว ดอกมี ๕ กลีบ
ฝักมีความยาว ๒๐-๕๐ เซนติเมตรลักษณะเหมือน ไม้ตีกลอง  เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้
           
มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน ๑-๕ ต้น เพื่อให้เป็น   ผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
          
คน ไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็น ผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลา-ช่อน โดยจะใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง
          
ผู้ เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุม ไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบ    อ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กิน     กับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำ  มาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
          
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสาน จังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งป่นเข้าเครื่อง "ผงนัว" กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด ๒ เท่า  การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ ๓ เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
  •  วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต ๓ เท่า
  • วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด ๗ เท่าของส้ม
  • แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน ๓ เท่าของนมสด
  • โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท ๓ เท่าของกล้วย 
  • ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
             
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
             
ปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่าย  ผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศีรษะ  ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
              
ประเทศ อินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก  แต่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก "มาลังเก") เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่

กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin  และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และcaffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายได้

ฆ่าจุลินทรีย์

สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์และเบนซิล-กลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ.๒๕๐๗ จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู  ปัจจุบันหลังจากการค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษา สารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง

สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็น อาหารเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล

จาก การทดลอง ๑๒๐ วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ ๒๐๐ กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน ๖ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม ๑๐๐ กรัม 
  (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ.๒๕๓๗)
  • พลังงาน ๒๖ แคลอรี
  • โปรตีน ๖.๗ กรัม (๒ เท่าของนม)
  • ไขมัน ๐.๑ กรัม
  • ใยอาหาร ๔.๘ กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต ๓.๗ กรัม
  • วิตามินเอ ๖,๗๘๐ ไมโครกรัม (๓ เท่าของแครอต)
  • วิตามินซี ๒๒๐ มิลลิกรัม (๗ เท่าของส้ม)
  • แคโรทีน ๑๑๐ ไมโครกรัม
  • แคลเซียม ๔๔๐ มิลลิกรัม (เกิน ๓ เท่าของนม)
  • ฟอสฟอรัส ๑๑๐ มิลลิกรัม
  • เหล็ก ๐.๑๘ มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม ๒๘ มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม ๒๕๙ มิลลิกรัม (๓ เท่าของกล้วย)
พบ ว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอล ฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลส-เทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง ๒ กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด 
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระ เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคน ที่ มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลใน เลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอก จากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
             
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทาง การแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ

งาน วิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหาย โดยยาไรแฟม-ไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมี   ผลกับระดับเอนไซม์แอสพาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีนอะมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลาย ของตับจากยาเหล่านี้
ผลิตภัณฑ์มะรุมของต่างประเทศจะอ้างฤทธิ์รักษาโรค มากมายทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยา-ศาสตร์ แค่ฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้นี้ก็คงเพียงพอแล้วที่คุณ จะเพิ่มใบหรือฝักมะรุมในรายการอาหารของคุณมื้อกลางวันนี้

ที่มา : หมอชาวบ้าน Online , health4friends.lnwshop.com

'ทุเรียนน้ำ' เอาใบมาทำน้ำชา ออกฤทธิ์ดีกว่าคีโม 10,000 เท่า

'ทุเรียนน้ำ' Cancer Killer Fruits

ทุเรียนน้ำ (Guyabano หรือ Sour Sop) เป็นผลไม้พื้นเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ (แต่เคยได้ยินว่ามีพบในเมืองไทยด้วย ตามต่างจังหวัด) ซึ่งสามารถพบได้ในบราซิลด้วย ซึ่งเรียกว่า Graviola เป็นผลไม้ขนาดใหญ่กว่าฝรั่งไม่มาก แต่ไม่เท่าส้มโอ มีหนามแต่ไม่แหลม คนฟิลิปปินส์จะรับประทานน้ำจากผลไม้ ซึ่งมีผลการรับรองจากแล็บมากมายว่าผลไม้ชนิดนี้สามารถช่วยในการ...ฆ่าเซลส์ มะเร็งกว่า 12 ชนิดซึ่งรวมถึง มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกมาก มะเร็งปอด และมะเร็งตับอ่อน

ผลจากการรับประทานยาที่สกัดจากทุเรียนน้ำ หรือการนำใบของทุเรียนน้ำมาต้มเป็นชาแล้วรับประทาน จะช่วยในการฆ่าเซลส์มะเร็ง ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า แต่จะไม่ทำร้ายเซลส์ดีในร่างกาย ผลการวิจับแสดงให้เห็นว่าผลไม้มหัศจรรย์นี้จะช่วยสู้เซลส์มะเร็งอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดการคลื่นเหียนวิงเวียน หรือเกิดอาการผมร่วงเหมือนกับการทำคีโม เพราะส่วนผสมนั้นเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่มีเคมีใดๆ และช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและไม่ก่อนให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยที่รับประทานยาสกัดจากทุเรียนน้ำนั้นมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ช่วยให้มีกำลังวังชา

ตอนนี้ที่ Tagaytay (เป็นเมืองเล็กๆ ทางใต้ของมะนิลา) ที่มีศูนย์ช่วยเหลือ-รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยชาวแคทอลิก ที่นี่เองจะให้ผู้ป่วยทานชาที่ได้จากการต้มใบของทุเรียนน้ำ ปรากฎว่าผู้ป่วยมากมายที่ค่าของเซลส์มะเร็งลดลง และบางรายถึงกับหาย...

การรับประทาน

"ใบชาที่ทำให้แห้งโดยการใช้วิธีการ Air Dry จะช่วยทำให้ประโยชน์ในการรักษา นั้นเข้มข้นขึ้น เมื่อใบแห้งแล้ว ฉีกใบเป็นชิ้นเล็กๆ และตวงให้ได้ 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 1 ลิตร นำไปต้ม และลดไฟให้ต่ำ เคี่ยวอีก 20 นาที ใช้ดื่ม 3 ถ้วยต่อวัน 30 นาทีก่อนมื้ออาหาร

ดื่มน้ำชาแบบนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อฆ่าเชื้อแบตทีเรียในร่างกาย หากต้องการดื่มติดต่อกันเกิน 30 วัน แต่ร่างกายยังไม่ดีขึ้น ให้พักก่อนซักสัปดาห์จึงค่อยทานชาต่อ

ต้องเลือกใบที่ไม่แก่เกินใบหรือมีสีเขียวเข้มเกินไปในการทำชา ควรจะใช้ใบที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อประโยชน์สูงสุดดูเพิ่มเติม

รายละเอียดเพิ่มเติม


ทุเรียน เทศ หรือ ทุเรียนน้ำ (ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน) และ มะทุเรียน (ภาคเหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona muricata Linn..(วงศ์ ANNONACEAE) และชื่อในภาษาอังกฤษว่า Soursop และPrickly Custard Apple

ทุเรียนเทศ (Sour Sop) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่า จำปี นมแมว กระดังงา (แม้แต่ดอกมันก็ยังคล้ายๆ กระดังงา หรื...อลำดวนค่ะ ) เป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง เริ่มแพร่กระจายไปสู่พื้นที่เขตร้อนทั่วโลกราวคริสต์ศตวรรษที่16 และแพร่กระจายมายังประเทศฟิลิปปินส์รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนักเดินเรือชาวสเปน

ทุเรียนเทศเป็น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นใบเดี่ยว ค่อนข้างหนา ผิวใบอ่อนเป็นมันออกดอกเดี่ยวขนาด ใหญ่ กลีบดอกแข็งสี นวล ห้อยลงสวยงามมาก ค่อนข้างกลม ผิวผลมีหนามต่าง ๆ สีเขียว อ่อน ผลสุกผิวผลนิ่ม ภายในมีเนื้อคล้าย น้อยโหน่ง สีขาว มีรสเปรี้ยว รสหวานเล็ก น้อย เมล็ดแก่สีน้ำตาลดำหุ้มด้วยเนื้อสีขาว เนื้อจะไม่แยกแต่ละเมล็ดเป็นหนึ่งตาเหมือน น้อยหน่า ถ้าผลดิบมีสสอมเปรี้ยว และมีรส มันเล็กน้อย น้ำทุเรียน มีสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ ใบก็เช่นกัน เอาใบมาต้ม ทำน้ำชา ออกฤทธิ์ดีกว่าคีโม 10,000 เท่า แต่ไม่ทำลายเซลส์ดี

ทุเรียนเทศ พบปลูกกันมากในภาคใต้ของประเทศไทยในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์พบว่าทุเรียน เทศได้หายไปจากตลาดท้องถิ่น แต่กลับพบทุเรียนเทศในรูปของผลผลิตเชิงอุตสาหกรรมเกษตรเช่น น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น และน้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่องพร้อมดื่ม ในร้านขายเครื่องดื่มแถวรัฐปีนังของประเทศมาเลเซียจะมีเครื่องดื่มน้ำ ทุเรียนเทศ ขายปะปนกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆ และที่สิงคโปร์นั้น น้ำทุเรียนเทศเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ลองมาดูกันนะคะ ว่าน้ำทุเรียนเทศที่ชาวสิงคโปร์ประทับใจนั้น มีส่วนผสมอย่างไรค่ะ


ส่วนผสม
ทุเรียนเทศสุก 1 ผล / น้ำต้มสุก 1 ถ้วย / น้ำเชื่อม (1:1) 1/2 ถ้วย / เกลือป่น

วิธีทำ 

เลือกทุเรียนเทศที่สุก ผ่า 2 ซีก ใช้ช้อนตักเนื้อ ใส่ภาชนะเติมน้ำต้มสุกเล็กน้อย ขยำ เติมต้ม สุกส่วนที่เหลือ แล้วคั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเมล็ดออก ถ้าผลใหญ่มากเติมน้ำต้มสุกลง ไปอีก เติมน้ำเชื่อมเกลือป่น ชิมรสตามใจชอบ ถ้าผลใหญ่และเนื้อมีรสเปรี้ยวมาก ต้องใส่ น้ำเชื่อมและเกลือเพิ่มขึ้น รสจะออกเปรี้ยวนำ หวานตาม และเค็มเล็กน้อย ใส่น้ำแข็งดื่ม แล้วรู้สึกชุ่มคอ และสดชื่น

ขอบคุณที่มา ;http://health4friends.lnwshop.com
รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต