ชาเขียวช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือ?
มีหลักฐานที่แสดงว่าชาเขียวสามารถลดนํ้าหนักได้ โดยในเดือนพฤศจิกายน 1999 วารสาร The American Journal of Clinical Nutrition ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเจนีวาใน สวิสเซอร์แลนด์ นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มทั้งสารสกัดคาเฟอีนและชาเขียว มีการเผาไหม้แคลลอรี่มากกว่า คนที่ได้คาเฟอีนอย่างเดียว เรามารู้จักชาเขียวกัน
ชาเขียว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า
Camellia Sinensis มีสายพันธุ์มากกว่า 1200 สายพันธุ์
มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูก
เป็นทั้งไม่พุ่มและไม้ยืนต้น ที่มีอายุตั้งแต่ 60-300 ปี ไม้พุ่มทั่วไป
จะมีการตัดแต่งให้เก็บยอดได้ง่าย มักจะสูงไม่เกิน 1.50 เมตร
ที่เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุมากที่สุด พบที่ยูนนานของจีน มีอายุ มากกว่า 300
ปี มีความสูง 15-20 เมตร
ชาเขียวเป็นที่ยอมรับแล้วว่ามีกำเนิดจากประเทศ
จีน ในอดีตมีการค้าขายเดินเรือไปทั่วโลกทำให้ชาเขียวแพร่ไป ยุโรป
อินเดีย บราซิล และที่อื่นๆ ชาเขียว ต้นเดียวกัน
สามารถทำเป็นชาที่นิยมกันได้ ถึงสามชนิดคือ
- ชาเขียว ( Green tea )
- ชาอูหลง ( Oolong Tea )
- ชาดำ ( Black Tea )
ชา
ทั้งสามชนิดมาจากชาเขียวต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีที่ต่างกัน
เมื่อเก็บเกี่ยวใบชาออกมาจากต้นแล้ว คือ ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก
เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว มีการอบความร้อน เพื่อไล่ความชื้น หรืออบไอน้ำ
การอบความร้อนหรือไอน้ำจะยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้ชาถูกหมัก
เมื่ออบแล้วจะนำมาคั่วแห้งและเก็บไว้ชงชา ชาอูหลงเป็นชา กึ่งหมัก (Semi
fermented) คือเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ผึ่งความร้อนเพียงเล็กน้อย
จะมีการนวดชาด้วยมือให้ช้ำ และเกิดเอนไซม์ เป็นการหมักเล็กน้อย
ระยะหนึ่งจึงนำไปคั่ว ชาดำ
จะถูกทิ้งให้ผ่านการหมักเต็มที่จนใบชากลายเป็นสีเข้ม ชาทั้งสามชนิด
จะมีรสชาติที่ต่างกันออกไป
แต่ชาเขียวจะมีคุณค่ามากที่สุดเพราะสารต้านอนุมูลอิสระไม่ถูกทำลายจากาการ
หมัก
ยัง มีชาอื่น ๆ อีก เช่น ชาขาว ซึ่งก็เป็นชาเขียว
แต่เด็ดแต่ยอดชาในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ใบชาจะมีขนอ่อนและเป็นสีขาว
จะมีคาเฟอีนน้อยที่สุด
ชาเขียว ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหลายประการ
โดยมี สารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ ( Active health component ) เรียกว่า
โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทชิน ( Catechins )
ซึ่ง Catechins นี้จะมีปริมาณ 30-40 %
ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง คาเทชินที่อยู่ในชาเขียว ประกอบไปด้วย
Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), Epicatechin-3-gallate, Epicatechin,
Epigallocatechin, Gallocatechin gallate and Catechin ในทั้งหมดนี้
สารที่มีมากที่สุดก็คือ Epigallocatechin-3-gallate หรือ อี จี ซี จี (
EGCG ) ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1 ซอง ( 1.5 กรัม ต่อซอง ) จะให้ EGCG ประมาณ
35 - 110 mg EGCG
นับได้ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ
ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในชาเขียวและมีปริมาณมากที่สุด มีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระ มากกว่า วิตามิน C และวิตามิน E 25-100
เท่า การรับประทานชา ประมาณ 1 แก้วต่อวัน จะให้สารต้านอนุมูลอิสระ
มากกว่าการรับประทาน แครอท บรอคเคอรี่ ผักโขม และสตรอเบอรี่
ในขนาดที่รับประทานในแต่ละมื้อ
และมีหลายงานวิจัยระบุว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
1. ช่วยลดความอ้วน
ด้วย
กลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ( Stimulates fat
oxidation ) มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG ช่วยเพิ่มกระบวนการ
การเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน และมีรายงานการทดลองในคนแล้วว่า
ช่วยลดความอ้วนได้
2. ช่วยลดไขมันในเลือด
แม้
จะลดไขมันในเลือดได้ไม่มากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย
ในงานวิจัยแรก พบว่า
เมื่อรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมาก
ร่วมด้วยจะลดปริมาณ ไขมันในเลือดชนิด ไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญใน
ช่วง 6 ชั่วโมงหลังทานอาหารและดื่มชา โดยลดการเพิ่มระดับของไขมันชนิด
ไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7%
อีกงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาประมาณ สองถ้วยต่อวัน
สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโคเลสเตอรอลลงได้เล็กน้อย (119 เป็น 106 มก/ดล.)
แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลินิก
3. ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน
มี
รายงานวิจัยว่า สารสำคัญในชาเขียว สามารถลดการหดเกร็งของเลือดฝอย
ลดการเกิดตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดอุบัติการ ของโรค
กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ( Myocardial infarction ) และอัมพฤกษ์
อัมพาตจากเส้นเลือดตีบตัน ( Storke ) นอกจากนี้ EGCG
ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิด การสันดาปOxidation ของโคเลสเตอรอล
ทำให้ลดการเกิด การสะสมสร้าง ตะกอน ( Plaque ) ในเส้นเลือด จาก โคเลสเตอรอล
ทำให้ลดการเกิด เส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน ( atherosclerosis )
และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Cronary atherosclerosis ) ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน
(Pulmoary Thrombosis) อีกด้วย
ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ
4. ต่อต้านอนุมูลอิสระ และ ต่อต้านมะเร็ง ( Antioxidant and Anticancer ) ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์
เพราะมีฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมูลอิสสระอย่างมาก
การวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า
ในกลุ่มผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก
กระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนังลดลง ทั้งนี้เพราะสารสกัด
ประเภทโพลีฟีนอลในชาเขียวมีผลยับยั้งมะเร็งจำนวนมากด้วยกลไกที่หลากหลาย
โดยเฉพาะสารสำคัญตัวหนึ่งในชาเขียวคือ epigallocatechin-3-gallate (EGCG)
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณภาพสูงในชาเขียว
ยังมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากของคนอย่างชัดเจน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการรับประทานชาเขียว
มีผลยับยั้งการก่อมะเร็งได้หลายชนิด
ที่มีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถยับยั้งมะเร็งของ ผิวหนัง มะเร็งปอด
มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
สำหรับมะเร็งในคนที่มีงานวิจัยดีที่สุดคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง
ตามมาด้วยมะเร็งเต้านม โดยพบว่า สาร EGCG สามารถลด การเติบโต
เซลล์มะเร็งเต้านมในคนได้ และยับยั้งมะเร็งเต้านมของหนูได้ การวิจัยนี้
บอกถึงศักยภาพในอนาคตที่จะนำมารักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
และงานวิจัยล่าสุด
ได้มีงานวิจัยโดยใช้สารสกัดชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งปอดเป็นครั้งแรก
ซึ่งยังเป็นการทดลองเบื้องต้น พบว่าได้ผลเล็กน้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตามมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่ดื้อต่อยาต้านมะเร็งมากที่สุดชนิดหนึ่ง
อยู่แล้ว แต่ก็บอกศักยภาพในการต้านมะเร็งของสารสกัดชาเขียวได้เป็นอย่างดี
5. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายสายพันธ์ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ ทำให้ช่วยปกป้องโรคฟันผุได้
เมื่อ
บริโภคชาเขียวทั่วไป จะพบว่าในชาเขียว ยังมีสาร คาเฟอีน
ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน จึงเป็นที่แนะนำว่า
ไม่ควรรับประทาน ชา/กาแฟ ก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และ
ไม่ควรบริโภคในเด็ก แต่ในสารสกัดจากชาเขียว อีจีซีจี
จะมีคุณประโยชน์เท่ากับชาเขียวคุณภาพดี 1 แก้ว แต่
จะมีสารคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยมากๆ คือในปริมาณ เพียง 0.05 ม.ก.
ซึ่งน้อยกว่าชาเขียวที่ชงดื่มทั่วไป ถึงประมาณ 900 เท่า
ทำให้ไม่มีผลต่อการกระตุ้นประสาท หรือนอนไม่หลับ แต่อย่างใด
ที่มา health4friends.lnwshop.com
ขอบคุณ รูปจากอินเตอร์เน็ท