วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

สรรพคุณของเห็ดพิมาน(Phellinus) --เรื่องเล่าจากข่าว

12 มี.ค.58 หลังจากครอบครัวเค้ามูลคดีเกือบสิ้นหวัง ที่นักแสดงอาวุโส "แม่ทุม ปทุมวดี" เข้ารับการรักษาอาการป่วยโรค ALS ในโรงพยาบาลมานานกว่า 2 ปี ซึ่งก่อนนี้แพทย์บอกว่าให้ทำใจได้เลย เพราะมีโอกาสรอดเพียง 30 เปอร์เซนต์เท่านั้น แต่แล้วในที่สุดปาฏิหารย์ก็มีจริง เมื่อลูกสาวของแม่ทุม "ยุ้ย ปัทมวรรณ" ได้เผยว่า คุณแม่อาการดีขึ้นแล้ว จากที่ไม่พูดไม่ตอบสนองมานานกว่า 6 เดือน ตอนนี้ก็จำตนได้เรียกชื่อตนได้
ล่าสุดเธอก็ได้โพสต์อินสตาแกรมชี้แจงว่า เหตุใดคุณแม่ถึงมีอาการดีขึ้น พร้อมขอบคุณผู้อยู่เบื้องหลัง ที่ยืนมือเข้ามาช่วยเหลือในครั้งนี้ ระบุว่า
"กรณีอาการ ALS ของคุณแม่ ซึ่งดีขึ้นราวปาฏิหารย์นั้น นอกจากคณะแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ที่ครอบครัว “เค้ามูลคดี” จะต้องขอบพระคุณที่ได้ดูแลคุณแม่อย่างดีแล้ว บุคคลสำคัญสองท่านที่ครอบครัวเค้ามูลคดีจะไม่ลืมบุญคุณ คือ อาอ้อย จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ซึ่งประสานให้เราได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.แฟรงค์ ชาน จาก อเมซิ่ง เกรซ เฮลท์ โปรดักท์ ซึ่ง ดร.แฟรงค์ ชาน เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทาการวิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ โรค ALS โรค MS และโรคมะเร็ง ร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ฮ่องกง เกาหลี และญี่ปุ่น รวมทั้งได้ทางานวิจัยกับมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลีเกี่ยวการใช้สารสกัดจากเห็ด Phellinus หรือเห็ดพิมาน ในโรคที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางทางานผิดปกติ ได้แก่ ALS MS อัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน
เห็ดพิมาน คืออะไร




"เห็ดกระถินพิมาน" (Phellinus igniarius) หรือที่ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า คะยา หรือ หนามขาว ชาวสุโขทัย เรียกว่า กระถินป่า หรือ กระถินวิมาน ชาวภาคกลางเรียก กระถินหางกระรอก หรือ กระถินพิมาน นั้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Fomes rimosus (Berk.) Cooke. เป็นเห็ดในตระกูล olyporaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม สูงประมาณ 8-10 เมตร มักขึ้นตามป่าละเมาะ หรือป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง อย่างในประเทศไทยก็พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะทั่วไปของ "เห็ดกระถินพิมาน" จะมีลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีหนามใบเล็กละเอียดออกตามก้านใบสลับตรงกันข้าม ใบของ "เห็ดกระถินพิมาน" จะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกดอกเป็นพู่สีขาวอมม่วง ปลายเป็นขนสีเหลืองส่งกลิ่นหอม ฝักแบนโค้งสีน้ำตาล ส่วนดอกเห็ดจะมีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ไม่มีก้าน และเจริญออกมาจากลำต้นไม้ในลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม

ทั้งนี้ ตามตำรับยาสมุนไพร ระบุไว้ว่า ส่วน "ราก" และ "ต้น" ของ "เห็ดกระถินพิมาน" สามารถนำไปใช้ทำยาได้หลากหลายอาการ คือ ส่วนราก ซึ่งมีรสฝาดเฝื่อน สามารถนำไปแก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้พิษงูได้ ขณะที่ลำต้น จะใช้ "เห็ด" ซึ่งมีรสเมาเบื่อ ไปแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ถ้านำเห็ดไปฝนกับน้ำปูนใสหรือเหล้าแล้วนำไปหยอดหู จะแก้ปวดหู แก้พิษฝีในหูได้ นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาทาบาดแผลที่เน่าเปื่อย น้ำเหลืองเสีย สามารถแก้เริม แก้งูสวัดได้อีกด้วย 
ส่วนที่มีเสียงร่ำลือว่า "เห็ดกระถินพิมาน" สามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้น ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันไบโอเทคและเห็ด มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ และผู้อำนวยสถาบันอานนท์ไบโอเทค ผู้เชี่ยวชาญเห็ด องค์การค้าโลกแห่งสหประชาชาติ ปี พ.ศ.2524-2548 ซึ่งเคยประสบความสำเร็จในการเพาะ "เห็ดกระถินพิมาน" มาแล้ว ให้ข้อมูลว่า เห็ดดังกล่าวมีสรรพคุณในการยับยั้งเซลล์มะเร็งจริง เพราะมีสารโพลีแซคคาไลน์ สารไตรโตรปินอย สารเนเชอรัลสเตอรอยด์ ที่เข้าไปช่วยยับยั้งการโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งปอด 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ากิน "เห็ดกระถินพิมาน" แล้วจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้เลย เพราะต้องนำเห็ดมาผ่านกรรมวิธีการหมักด้วยจุลินทรีย์ก่อน เพื่อให้ได้ผลดี รวมทั้งยังต้องควบคุมการรับประทานอาหารควบคู่ไปด้วย การใช้ "เห็ดกระถินพิมาน" รักษามะเร็งจึงจะสัมฤทธิ์ผล และนอกจากโรคมะเร็งแล้ว งานวิจัยก็ยังพบว่า "เห็ดกระถินพิมาน" สามารถรักษาโรคเบาหวาน สร้างเม็ดเลือด แผลพุพอง ภูมิแพ้ ไข้หวัดใหญ่ ผื่นคัน ไขข้ออักเสบ ได้เช่นกัน 

ดร.อานนท์ ยังบอกด้วยว่า ในอดีต ประเทศไทยพบ "เห็ดกระถินพิมาน" ในจังหวัดสกลนคร และแถบอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย แต่ชาวบ้านไม่รู้ว่านี่คือเห็ด นึกว่าเป็นไม้แห้ง จึงไม่ได้สนใจ และนำไปทำฟืนแทน ก่อนที่ชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจะไปพบเข้า จึงนำเห็ดดังกล่าวไปสกัดเป็นยาในต่างประเทศ แล้วส่งกลับมาขายในประเทศไทย จึงถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก เพราะเห็ดชนิดนี้ในต่างประเทศซื้อขายกันในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว

บทความจาก ข่าวและ Cancer Research UK, cancerresearchuk.org
ที่มา  http://health4friends.lnwshop.com/

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผักเชียงดา ผู้ฆ่านํ้าตาล

เชียงดา เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปกลมรี ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ สีเหลืองอมส้ม ดอกย่อยกลมเล็ก ผลเป็นฝักคู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum (Lour.) Decne. ชื่ออื่นๆว่า ผักเซ็ง, ผักจินดา, ผักเจียงดา, ผักกูด, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่
       
       เป็นผักพื้นบ้านทางเหนือของไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และแอฟริกา
       
       กว่า 2,000 ปีมาแล้วที่ประเทศอินเดียใช้เชียงดาเป็นยาอายุรเวทในการรักษาโรคเบาหวาน ในภาษาฮินดูเรียกเชียงดาว่า “Gurmar” แปลตรงตัวว่า “ผู้ฆ่าน้ำตาล” หรือ “ผู้พิฆาตน้ำตาล” เพราะสามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน และไม่พึ่งอินซูลินได้
       
       นอกจากนั้น ผักเชียงดายังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซีเบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง และผักเชียงดาคั้นน้ำสดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถป้องกันการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์เม็ดเลือดขาว
       
       ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร บอกว่า เชียงดามีสารสำคัญคือ gymnemic acid ซึ่งสกัดมาจากรากและใบ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี 1926 และในปี 1981 มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสามัครที่แข็งแรง พบว่า ผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2
       
       และตั้งแต่ในปี 1990 เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ที่ค้นพบประสิทธิภาพกลไกออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด เช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย ศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูโดยให้สารพิษที่ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนของหนู พบว่า หนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลล์เพิ่มขึ้น
       
       ในกลุ่มหมอกลางบ้านไทยใหญ่มีตำราระบุถึงเชียงดาว่าเป็น “ยาแก้หลวง” คือ เป็นยาที่ใช้แก้ได้หลายอาการ รักษาได้หลายโรค มีสรรพคุณคล้ายฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ แก้แพ้ แก้เบาหวาน โดยหน้าแล้งจะขุดรากมาทำยา หน้าฝนจะใช้เถาและใบ โดยสับตากแห้งบดชงเป็นชาดื่ม
       
       นอกจากนี้ ยังใช้แก้แพ้ เวียนศีรษะ แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) หรือเมื่อเกิดอาการคิดมาก มีอาการจิตฟั่นเฟือน นอกจากนี้ คนไทยใหญ่ยังใช้ผักเชียงดารักษาอาการท้องผูกโดยจะแกงผักเชียงดา รวมกับผักตำลึงและยอดชะอม กินในหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายด้วย
       
       เชียงดาจะมีรสขมนิดๆ หากเด็ดใบแก่มาเคี้ยวกิน หลังจากนั้นกินน้ำตาลทรายเข้าไป น้ำตาลจะไร้รสชาติ ไม่มีความหวาน ปัจจุบัน มีการนำเชียงดาไปสกัดและผลิตออกมาในรูปของแคปซูล เพื่อสะดวกในการรับประทาน
       
       ข้อควรระวัง!!
       
       การรับประทานเชียงดาอาจทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาล ดังนั้น ควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบเมื่อใช้เชียงดาร่วมในการรักษาเบาหวาน


   (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 150 มิถุนายน 2556 โดย เก้า มกรา) 
  Cr: http://health4friends.lnwshop.com/