วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วัยทอง (แอนโดรพอส) ในผู้ชาย

แอนโดรพอสคืออะไร

แอนโดรพอส (andropause) คือกลุ่มอาการถดถอยทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ชายวัยเกิน 40 ปีขึ้นไป โดยมีความสัมพันธ์กับการที่ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายลดระดับลง

ขณะที่ผู้หญิงมีเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ชายก็มีเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายจะถดถอยลงเป็นธรรมดา แต่มันจะค่อยๆลดระดับลงช้าๆใช้เวลาหลายปี ไม่ได้ลดลงฮวบฮาบแบบทันทีเพราะรังไข่หยุดทำงานแบบผู้หญิงตอนหมดประจำเดือน ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงในผู้ชายเกิดขึ้นที่ละเล็กทีละน้อย บางคนไม่รู้สึกตัวเลย แต่บางคนก็รู้สึกถึงสมรรถนะทางเพศที่ลดลง พลังงานลดน้อยลง อารมณ์หรือจิตใจที่ “ตก” ลงไปจากระดับเดิม สภาวะนี้ทางการแพทย์เรียกว่าอาการผู้ชายวัยทอง หรือแอนโดรพอส (andropause) เพื่อให้เป็นคนละเรื่องกับผู้หญิงหมดประจำเดือนหรือ menopause แพทย์บางคนไม่ยอมรับคำนี้ และพอใจที่จะเรียกภาวะนี้ว่า “อาการจากอวัยวะผลิตฮอร์โมนลดลงในผู้ใหญ่ (SLOH) บ้างก็เรียกว่า “ภาวะขาดแอนโดรเจนในคนสูงอายุ (ADAM) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นชื่อเรียกเรื่องเดียวกัน.. คือผู้ชายหมดประจำเดือน

เนื่องจากอาการเหล่านี้มักมาเกิดขึ้นในวัยที่ผู้ชายเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับ ความหมายในชีวิตของตัวเอง หรือเริ่มมองเหลียวหลังและระทดระท้อกับชีวิตที่ผ่านมาโดยไม่สำเร็จอะไรเป็น ชิ้นเป็นอัน จึงเป็นการยากที่จะบอกให้ได้ว่าอาการเหล่านี้เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายลดลง หรือเกิดจากเหตุภายนอกเช่นความล้มเหลวในหน้าที่การงานหรือการเสียจังหวะใน ชีวิตกันแน่

ผู้ชายพออายุพ้น 40 ปีไปแล้วฮอร์โมนเพศก็เริ่มลดลง ประมาณปีละ 1 % พอช่วงอายุ 45 – 50 ปีจะลงเร็วหน่อย แต่ก็มักจะไม่มีอาการอะไรให้เห็นจนอายุ 60 ปี, เมื่ออายุถึง 80 ปีประมาณครึ่งหนึ่งของคุณผู้ชายจะมีฮอร์โมนเพศต่ำชัดเจน ทั้งนี้มีความแตกต่างระหว่างคนต่อคน บางรายฮอร์โมนก็ยังคงอยู่ในระดับสูงแม้จะชราแล้ว บางรายฮอร์โมนลดต่ำไปแล้วก็จริง แต่กลับไม่มีอาการอะไรให้เห็นก็มี จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาว่าใครจะมีระดับฮอร์โมนลดลงแค่ไหน ณ อายุเท่าใด หรือใครจะมีอาการหรือไม่มีอาการแอนโดรพอส ทางเดียวที่จะบอกได้ว่าฮอร์โมนลดต่ำลงจริงหรือไม่ก็คือเจาะเลือดดู

อาการของแอนโดรพอส

ในคนที่มีอาการจากฮอร์โมนลดต่ำ อาการอาจรวมถึงความต้องการทางเพศลดลง เป็นหมัน อวัยวะเพศแข็งตัวเองน้อยลง (เช่นเคยแข็งตัวตอนกลางดึกหรือตอนตื่นนอนเช้าเป็นประจำก็ไม่แข็งตัวอีกเลย) เต้านมตึงคัด ขนในที่ลับร่วง ลูกอัณฑะเล็กและเหี่ยว ความสูงของร่างกายลดลง กระดูกบางยิ่งขึ้น กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ร้อนวูบวาบตามตัวและเหงื่อออก พลังงานเสื่อมถอย แรงบันดาลใจและความมั่นใจลดลง รู้สึกเศร้า หรือซึม สมาธิเสื่อม ความจำเสื่อม มีอาการหายใจขัดขณะนอนหลับหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับแบบอื่นๆ มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายทำงานได้น้อยลง ในอดีตแพทย์มักมองอาการเหล่านี้ว่าเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าหรืออาการชราตาม วัย จึงมักกล่อมให้ผู้ป่วยยอมรับสภาพว่าอายุมากแล้วทำใจเสียเถอะ ทั้งตัวผู้ป่วยเองก็ยากที่จะยอมรับได้ว่าตนเองมีอาการเหล่านี้อยู่ จึงพยายามเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้เสีย แต่ในปัจจุบันนี้มีการเจาะเลือดเพื่อพิสูจน์ระดับฮอร์โมนได้ง่ายๆ ประกอบกับการมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าแอนโดรพอสทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค กระดูกพรุนและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด (แม้ว่าหลักฐานอย่างหลังนี้จะยังไม่แน่นหนานัก) ทำให้ผู้คนหันมาสนใจแอนโดรพอสและการใช้ฮอร์โมนทดแทนจริงจังมากขึ้น

ขณะที่ผู้ชายเราหลีกเลี่ยงภาวะฮอร์โมนเพศถดถอยเมื่ออายุมากขึ้นไม่ได้ และยังมีความลังเลว่าการใช้ฮอร์โมนทดแทนจะดีหรือไม่ดีกับตัวเอง แต่ก็มีหลายอย่างที่ช่วยได้แน่นอน เช่น กินอาหารให้ถูกต้อง ใช้ชีวิตแบบแอคทีฟกระตือรือล้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้คงระดับพลังงานไว้ที่ระดับสูง คงมัดกล้ามเนื้อไว้ไม่ให้เหี่ยวหาย และคงจิตใจอารมณ์ให้คมเฉียบอยู่ได้แม้วัยจะล่วงเลยไปแล้ว

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นตัวช่วย ลองตอบคำถามต่อไปนี้อย่างจริงใจดูก่อน โดยตอบเพียงแค่ว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”

1. คุณรู้สึกว่าเรี่ยวแรง พละกำลังถดถอยลงไปกว่าเดิม
2. คุณสังเกตว่าคุณเล่นกีฬาหรือออกแรงได้น้อยกว่าเดิม
3. คุณรู้สึกว่ามีความต้องการทางเพศน้อยลง
4. คุณมีความรู้สึกเศร้า หรือหงุดหงิด มากกว่าแต่ก่อน
5. ร่างกายของคุณเตี้ยลงกว่าเดิม
6. คุณรู้สึกว่าตัวเองมีความรื่นเริงบันเทิงใจกับสิ่งต่างๆในชีวิตลดลง
7. คุณรู้สึกว่าตัวเองทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม
8. อวัยวะเพศของคุณไม่แข็งตัวตอนตื่นขึ้นมากลางดึกหรือตอนตื่นนอนเช้า
9. คุณม่อยหลับหลังอาหารเย็น
10. คุณรู้สึกว่ากล้ามเนื้อของตัวเองลีบลงกว่าเดิม หรือลงพุง (รอบเอวมากกว่า 34 นิ้ว)
ถ้าคำตอบของคุณคือ “ใช่” ตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป โดยที่มีข้อ 1 หรือข้อ 2 (ข้อใดข้อหนึ่ง) อยู่ในกลุ่มข้อที่ใช่ด้วย ก็เป็นตัวช่วยบอกว่าคงไม่เสียหลายถ้าคุณจะหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อหารือเรื่อง แอนโดรพอส เจาะเลือดดูฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และรับฟังความเห็นและข้อแนะนำของแพทย์ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะไปทางไหนต่อดี

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท
ข้อมูลจาก http://health4friends.lnwshop.com
รูปประกอบจาก อินเตอร์เนท
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ไขมันพอกตับ โรคร้าย เสี่ยง ตับแข็ง สูง

          ปัจจุบัน ไขมันพอตับกลายเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตับทำงานผิดปกติและ อาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด จากข้อมูลทางคลินิกพบว่าคนอ้วนและผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ดื่มสุราเป็น ประจำมีภาวะไขมันพอกตับสูงถึง 50%1 และ 57.7% ตามลำดับ ส่วนผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีประมาณ 25% เป็นไขมันพอกตับ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ ไขมันพอกตับส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักจะไม่รู้ตัวหรือไม่ใส่ใจในการรักษา

          ไขมันพอกตับคืออะไร...
          ไขมัน พอกตับใช่ว่าจะมีไขมันพอกอยู่บนตับ หากแต่หมายถึง การสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5% ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ ตับอักเสบและอาจพัฒนาเป็นตับแข็งในที่สุด ไขมันพอกตับสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระยะ
          - ระยะแรก: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 5-10% ของตับ
          - ระยะกลาง: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักประมาณ 10-25% ของตับ
          - ระยะรุนแรง: ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักเกิน 30% ของตับ
          ไขมัน พอกตับส่วนใหญ่จะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจอัล ตร้าซาวด์เพื่อรักษาโรคอย่างอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยไขมันพอกตับในระยะแรกหรือแม้กระทั่งพัฒนาเป็นตับอักเสบหรือ ตับแข็งแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังไม่แสดงอาการ

          ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุอะไร...
          ไขมัน พอกตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การสังเคราะห์ไขมันของตับผิดปกติ โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ตับอักเสบจากไวรัส การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การตั้งครรภ์ เป็นต้น

          ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุอะไร...
          ผู้ ป่วยไขมันพอกตับกว่า 50% ไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไขมันพอกตับระยะแรก แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะไขมันพอกตับก็จะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้:
          - รู้สึกอึดอัดหรือปวดแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา
          - เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย
          - ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ
          - อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง
          - ในรายที่รุนแรงอาจมีอาการดีซ่าน (ผิวเหลือง และตาเหลือง) หรือคลื่นไส้ อาเจียน         
          - ตรวจพบค่าเอ็นไซม์ตับ SGPT, SGOT สูงขึ้น (แสดงว่าตับมีการอักเสบ)
          - ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
          แต่ อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของไขมันพอกตับไม่อาจวัดด้วยระดับความรุนแรงหรือจำนวนมาก น้อยของอาการ เนื่องจากบ่อยครั้งไขมันพอกตับจนเป็นตับแข็งแล้วผู้ป่วยก็ยังไม่รู้สึกมี อาการ

          ไขมันพอกตับอันตรายเพียงใด
          - ทำให้ตับทำงานผิดปกติ
          ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในร่างกายและเป็น เสมือนโรงงานเคมีของร่างกายทำหน้าที่สำคัญหลายๆ อย่าง เช่น กักเก็บสารอาหารสังเคราะห์โปรตีน โคเลสเตอรอลและวิตามิน ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและกำจัด สารพิษที่ตกค้างในร่างกาย ฯลฯ เมื่อมีเซลล์ไขมันจำนวนมากแทรกอยู่ในเซลล์ตับจะทำให้โครงสร้างภายในของตับ แปรเปลี่ยนไปย่อมจะทำให้ตับทำงานผิดปกติและส่งผลกระทบทั่วทั้งร่างกาย
          - ส่งผลกระทบต่อผลการรักษาของโรคเรื้อรังต่างๆ
          ไขมัน พอกตับใช่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาเดี่ยวๆ หากแต่เป็นผลพวงของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ตับขาดสารอาหาร ตับอักเสบจากไวรัส เป็นต้น ผู้ป่วยไขมันพอกตับจึงมักอยู่คู่กับโรคเรื้อรังหลายอย่างเช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ เกาต์ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ไขมันพอกตับนอกจากไปเพิ่มความรุนแรงของโรคเรื้อรังเหล่านี้แล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการรักษาของโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ ควรและยากต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้กลับสู่ภาวะปกติ
          - อาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
      หากไขมันพอกตับไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ ตับอักเสบและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

          ยาลดไขมันในเลือดสูงส่งผลกระทบต่อไขมันพอกตับอย่างไร...
          โค เลสเตอรอลในร่างกายคนเรา 80% ขึ้นไปสังเคราะห์จากตับ การใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำจะไปกดการ ทำงานของตับไม่ให้ปล่อยโคเลสเตอรอลเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ตับสำลักไขมันจนเกิดไขมันพอกตับได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดการใช้ยา เป็นอีกวิธีสำคัญวิธีหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาภาวะไขมันพอกตับได้

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...
          การ แพทย์จีนได้จัดไขมันพอกตับให้อยู่ในกลุ่มโรคของปวดแน่นชายโครง และระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารโดยเฉพาะไขมันบกพร่อง ซึ่งมีสาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานอาหารหวานๆ มันๆ และแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้ตับที่ทำหน้าที่ในการระบายพลังชี่ และม้ามที่ทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการคั่งของพลังชี่และของเหลวข้น (เสมหะหรือไขมัน) ในตับ ทำให้การไหลเวียนของพลังชี่และเลือดในตับติดขัดจนทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลนานวันเข้าก็จะกลายเป็นไขมันพอกตับในที่สุด

          ถึงแม้ว่าพยาธิสภาพของไขมันพอกตับเกิดขึ้นที่ตับแต่จะส่งผลกระทบ
          โดยตรงต่อการทำงานของม้าม ถุงน้ำดีและกระเพาะอาหาร การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมดังนี้:
          - ระบายพลังชี่อั้นในตับ ทำให้พลังชี่และเลือดในตับไหลเวียนได้สะดวก ตับจึงกลับมาทำงานได้ปกติรวมทั้ง มีการสังเคราะห์ไขมันในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
          - ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของม้าม ทำให้มีการดูดซึมอาหารโดยเฉพาะไขมันได้ดีไม่ให้เกิดการสะสมในตับ

          ไขมันพอกตับจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด..

ที่มา : http://health4friends.lnwshop.com/
รูปประกอบจากอินเตอร์เนท