วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

คอลลาเจน (Collagen) จำเป็นต่อร่างกายจริงหรือไม่??

คอลลาเจน Collagen คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
คอลลาเจน (Collagen) เป็นโมเลกุลของโปรตีนที่มี Polypeptide 3 สายประกอบกันเป็นเกลียวเส้นใย มีหน้าที่สำคัญในการเชื่อมและยึดจับเซลล์เนื้อเยื่อเข้าด้วยกัน เช่น เส้นเอ็น ข้อต่อกระดูกต่างๆ รวมถึงช่วยเสริมการสร้างเนื้อเยื่อและเส้นเลือด สามารถพบได้ทั่วไปในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีปริมาณถึงร้อยละ 33 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกายผิว หนังเราทั้งทำหน้าที่เป็นเกราะกำบังร่างกาย ต้องสัมผัสกับแดดจ้าฝุ่นควัน พิษ ต่างๆ นาๆ ไม่เว้นแต่ละวัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวพรรณแห้งเหี่ยว หยาบกระด้าง และเกิดริ้วรอย นอกจากนี้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น นอนดึกสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ ฯลฯ ยังเป็นตัวการสำคัญที่คอยเร่งให้ผิวพรรณที่เคยเปล่งปลั่งต้องเสื่อมสภาพก่อน เวลาและวัยอันควรปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ ก็คือ คอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกายในปริมาณร้อยละ 6 ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดที่มีในร่างกายโดยจะอยู่ภายใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่งจะประกอบด้วยคอลลาเจนถึง 75%
Collagen เป็นโปรตีนธรรมชาติในร่างกาย มีสารสำคัญ 2 ชนิด คือproteoglycan และ glycosamionglycansจัดเป็นโปรตีนเนื้อเยื่อเส้นใยชนิดหนึ่งที่มีความยืดหยุ่น เรียกว่า elastic fiber ซึ่งประกอบไปด้วย amino acid หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ glycene prolene และ hydroxyprolene ที่ มีความสำคัญยิ่งต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายมากมาย เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก กระดูกอ่อน ข้อ เหงือก ฟัน ตา หลอดเลือด ผิวหนัง เนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับการยึดเหนี่ยว (ligaments) เส้นผม เล็บ ตลอดจนผนังหลอดเลือด จึงทำให้มีบางคนเรียก คอลลาเจน (collagen) ว่า “กาวแห่งชีวิต”เพราะทำ หน้าที่เชื่อมเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเข้าด้วยกันรวมทั้งปกป้องอวัยวะภายในร่างกายให้อยู่ด้วยกันในผิว หนังชั้นหนังแท้ นอกจากนี้ คอลลาเจน (collagen) ยัง มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเรียบตึงของผิวหนังทำให้ผิวแข็งแรงและเรียบ เนียน โดยจะทำหน้าที่คู่กับโปรตีนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ อีลาสติน (Elastin) ซึ่งช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวและทำให้ผิวไม่มีริ้วรอย ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงมักจะพบเห็นหรือได้ยินการกล่าวถึง คอลลาเจน (collagen) กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในแวดวงความสวยความงาม
การสังเคราะห์คอลลาเจนเกิดในชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) ซึ่งมีเซลล์ชื่อไฟโบรบลาสท์(Fibroblast) กระจายอยู่ทั่วและทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญต่อผิว 3 ชนิดคือ 1.คอลลาเจน (Collagen) ช่วยให้ผิวตึง กระชับ 2.อิลาสติน (Elastin) ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และ 3.กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น เอิบอิ่ม โดยรวมแล้วในชั้นผิวหนังแท้จะมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบมากที่สุดถึง 75% เลยทีเดียว

Collagen มีกี่แบบ
ในปัจจุบันแบ่งคอลลาเจนออกเป็น 29 รูปแบบ แต่มากกว่า 90% ของคอลลาเจนใน ร่างกายจะมีอยู่ใน 4 รูปแบบต่อไปนี้
ในวัยเด็กเราจะมีคอลลาเจน Type III มากที่สุดผิวของเด็กจึงดูนุ่มเนียน เต่งตึงสะดุดตากว่าวัยไหนๆแต่เมื่อเราโตขึ้นคอลลาเจน Type I ก็จะถูกสังเคราะห์ขึ้นมาแทนที่จนกระทั่งอายุ 25 ปีขึ้นไป คอลลาเจนในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ โดยลดลงในอัตรา 1.5% ต่อ ปี เมื่อมีการสูญเสียคอลลาเจนมากกว่าการผลิตขึ้นใหม่ ผิวหนังจึงขาดความกระชับตึงและยุบตัวลงมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสาเหตุของริ้วรอยและผิวพรรณแห้งกร้านตามมา
นอก จากการเสื่อมสลายไป ตามธรรมชาติแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้คอลลาเจนเสื่อมเร็วขึ้น เช่น รังสียูวีจากแสงแดด บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารปนเปื้อนในอาหาร อนุมูลอิสระ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เป็นต้น

Collagen กับสุขภาพ
เนื่อง จาก คอลลาเจน เป็นส่วนประกอบของกระดูก เอ็น และเนื้อเยื่อ ที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยว ส่วนต่างๆ ในร่างกาย นักวิจัยจึงเชื่อว่าการที่ร่างกายมีคอลลาเจน อย่างเพียงพอจะช่วยลดอาการของโรคข้อต่ออักเสบ รวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น นักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายหนักๆ เป็นต้น ทั้งนี้การรับประทานคอลลาเจนอาจเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างกับการรับประทานอาหาร ประเภทโปรตีน แต่เนื่องจากร่างกายคนเรามีปัจจัยแตกต่างกัน เช่น เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้น้อยลง หรือไลฟ์สไตล์เร่งรีบที่ทำให้คนเรามีความเครียดสูง ต้องเผชิญกับมลพิษรอบตัว ไม่มีเวลารับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ฯลฯ ก็ล้วนทำให้ร่างกายมีคอลลาเจนไม่เพียงพอกับความต้องการได้ทั้งสิ้น การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อทดแทนในส่วนที่ขาดจึงได้รับความนิยม มากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีขั้นตอนการย่อยน้อยกว่าเนื้อสัตว์

Collagen กับผิวพรรณ
นอก จากคอลลาเจนจะถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ เช่น ลดการอักเสบของผิวหนัง ใช้เป็นไหมละลายในการผ่าตัด ใช้เป็นสารบุร่องเหงือกและใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้ว ในวงการผิวพรรณและความงามก็นำคอลลาเจนมาใช้เป็นส่วนประกอบอย่างแพร่หลายเช่น กัน อาทิ สกินแคร์ที่มีสารไมโครคอลลาเจน (Microcollagen) และวิตามินซีช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสท์หรือการฉีดคอลลาเจนเข้าสู่ผิวโดยตรง (Collagen Replacement Therapy) ซึ่งทำให้ผิวเรียบตึงขึ้นได้ทันตา แต่ต้องฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน และอาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น เกิดตุ่มนูนเรื้อรังจากการฉีดในปริมาณมากเกินไป หรือเกิดอาการแพ้คอลลาเจนได้ จึงควรทดสอบการแพ้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนฉีดเสมอ
ส่วนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวสวยนิยมใช้คอลลาเจน Type I ที่สกัดจากปลาทะเล (Bio-marine Collagen) เพราะมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคอลลาเจนในร่างกายมนุษย์มากที่สุดซึ่งมักนำมาตัดพันธะเคมีด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้มีโมเลกุลเล็กลงและ ง่ายต่อการดูดซึม เรียกว่าไฮโดรไลซ์ คอลลาเจน (Hydrolyzed Collagen)หรือคอลลาเจน ไฮโดรไลเสท (Collagen Hydrolysate) ถือเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมคอลลาเจนให้ผิวพรรณได้ง่ายขึ้น เพราะในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการหลับ ต่อมพิทูอิตารีในสมองจะหลั่งโกรว์ธ ฮอร์โมน (Growth Hormone) สู่ กระแสเลือดเพื่อฟื้นฟูส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากมีคอลลาเจนเพียงพอก็จะช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อซ่อมแซมเซลล์ผิวที่ สึกหรอได้ดียิ่งขึ้น และยังมีผลทางอ้อมต่อการลดน้ำหนักไปพร้อมกัน กล่าวคือเมื่อร่างกายมีการสร้างกล้ามเนื้อมากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันมากขึ้นด้วย การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าการรับประทาน อาหารประเภทโปรตีนในปริมาณมากก่อนเข้านอน

Collagen กับตัวช่วย
 การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม นอกจากทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ควรเน้นผักและผลไม้ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เพราะมีคุณสมบัติปกป้องและเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอลลาเจนและอิลาสตินได้ดี
 คงความชุ่มชื่นให้เซลล์ผิว ยิ่งผิวสูญเสียความชุ่มชื่นมากเท่าไหร่ ริ้วรอยถาวรก็ปรากฏเร็วขึ้นเท่านั้น จึงควรชะลอวัยให้ผิวด้วยการใช้มอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไฮโดรไลซ์ คอลลาเจน โปรคอลลาเจน อิลาสติน เอเอชเอ หรือเรตินอล ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ใช้ชีวิตอย่างพอดี ไม่ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ดีเพียงไร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารครบหมู่ และทำจิตใจให้แจ่มใส ก็ยังเป็นวิธียืดอายุคอลลาเจนที่สำคัญที่สุด หากรักษาสมดุลการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมแล้ว สุขภาพดีและผิวพรรณอ่อนเยาว์ก็จะอยู่กับเราไปอีกนานแน่นอน

การสูญเสีย คอลลาเจน (collagen)
น่าเสียดายที่เราพบข้อเท็จจริงว่าคนเรา เมื่อ มีอายุ 25 ปีขึ้นไป คอลลาเจน (collagen) จะเริ่มเสื่อมสภาพลงเพราะอัตราการสังเคราะห์ คอลลาเจน (collagen) ใต้ผิวหนังในชั้นหนังแท้จะลดลงถึง 1.5% ต่อปีและเป็นความโชคร้ายที่จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหรือที่เป็นปัญหา เรื่องแก่ก่อนวัยของสาวๆ ซึ่งอัตราการลดลงของ คอลลาเจน (collagen) ใน ผิวหนังนั้นจะมีผลให้ผิวพรรณค่อยๆ สูญเสียความชุ่มชื้น ยุบตัวลง ผิวที่เคยสวยเต่งตึงก็จะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและสัญญาณของความร่วงโรยจะ ค่อยๆ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 30 ปีผิวจะเริ่มหย่อนคล้อยยิ่งอายุเพิ่มขึ้นสัญญาณของความร่วงโรยก็จะเพิ่มเป็น เงาตามตัว
อัตราการเริ่มสูญเสียคอลลาเจน (collagen) เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป
อายุ 30-39 ปี ผิวจะเริ่มมีรอยย่นบางๆ ทอดยาวบริเวณหน้าผาก มีริ้วรอยเล็กๆ ใต้ขอบตาล่างและหางตาจะเห็นชัดเวลายิ้มและมีรอยย่นตรงระหว่างคิ้วซึ่งจะเห็น ชัดเวลาหน้านิ่ว มีริ้วรอยบางๆ ที่ร่องแก้มจากจมูกจนถึงเหนือริมฝีปาก อาจเกิดไฝ กระ ฝ้าทั้งแบบลึกและตื้นขนาดของรูขุมขนจะเห็นชัดขึ้น
อายุ 40-49 ปี รอยย่นบริเวณหน้าผาก ระหว่างคิ้ว ใต้ขอบตาล่างและหางตาเห็นชัดเจนมากขึ้น รอยย่นข้างแก้ม และร่องแก้มลึกทอดยาวไปจนจดมุมปาก มีฝ้าชนิดลึกมากขึ้นสภาพผิวเริ่มแห้งมีรูขุมขนใหญ่และเริ่มจะเป็นสิวอีก ครั้ง มีติ่งเนื้อขึ้นกระจัดกระจายเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลภาวะนี้เรียกว่าวัยเริ่มตกกระ
อายุ 50-64 ปี ผิวจะมีสภาพเหมือนกับวัย 40-49 ปี แต่จะมีรอยย่นตามร่องแก้มลึกทอดยาวไปจนถึงบริเวณใต้มุมปาก มีฝ้าเกิดขึ้นและติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น
อายุ 65 ปี ขึ้นไปผิวหนังหยาบกร้าน มีริ้วรอยทั่วหน้า ริมฝีปากบางมีรอยย่นเหนือริมฝีปาก ส่วนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ คล้ายกับวัย 50-64 ปี
ดัง นั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ ต้องเกิดขึ้นกับ ทุกคนโดยที่เราไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่เราสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณและรักษาผิวไว้ให้ดูดีให้นานที่ สุดได้เช่นเดียวกัน โดยการใช้ สารสกัดโปรตีน คอลลาเจน (collagen) เพื่อทดแทน คอลลาเจน (collagen) ที่สูญเสียไป

การทดแทน คอลลาเจน (collagen) ที่สูญเสียไป
การนำสารสกัดโปรตีน คอลลาเจน (collagen) เข้าสู่ร่างกายเพื่อผลในการบำรุงผิวและลดริ้วรอยนั้นปกติทำได้ 2 วิธีคือ การฉีดเข้าใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้และการรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร เนื่องจาก คอลลาเจน (collagen) เป็น โปรตีนที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่มากดังนั้นจึงไม่สามารถซึมผ่านผิวหนัง ได้ด้วยการทา ซึ่งครีมบำรุงผิวต่างๆ ตามท้องตลาดที่มีส่วนผสมของ คอลลาเจน (collagen) ก็จะเป็นเพียงการผลัก คอลลาเจน (collagen) ให้เข้าไปอยู่ได้แค่ชั้นผิวหนังกำพร้า แต่เนื่องจาก คอลลาเจน (collagen) มีคุณสมบัติอุ้มน้ำไว้ได้ประมาณ 30 เท่าของน้ำหนักจึงทำให้ผิวชั้นหนังกำพร้าชุ่มชื้นขึ้นเท่านั้นจึงไม่สามารถ แก้ไขปัญหาริ้วรอยได้อย่างเป็นรูปธรรม และหากจะเปรียบเทียบระหว่างการฉีดคอลลาเจน (collagen) เข้า ใต้ผิวหนังกับการรับประทานแล้ว จะพบว่า วิธีการรับประทานนั้นง่ายและสะดวกมากกว่าการฉีด ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้การรับประทานนั้นยังเป็นการนำ คอลลาเจน (collagen) เข้า ไปเสริมสร้างทั้งส่วนของผิวหน้าและผิวพรรณทั่วร่างกาย โดยผลการวิจัยด้านโภชนาการได้ค้นพบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารที่สกัดจากโปรตีนของ ปลาทะเลน้ำลึกบางประเภทที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้าง คอลลาเจน (collagen) ของผิวคนเรา โดยวิธีการ Enzymatic Hydrolysis เป็นประจำอย่างต่อเนื่องนั้น สามารถช่วยเสริมสร้าง คอลลาเจน (collagen) ที่ สูญเสียไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยปกป้องและชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ความแห้งกระด้าง ช่วยให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื้น นุ่มนวล คงความยืดหยุ่นของผิวไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงเล็บและเส้นผมให้มีสุขภาพดีได้อีกด้วย

ที่มา :  http://health4friends.lnwshop.com/

เบต้ากลูแคน คือ อะไร??



ประโยชน์ของเบต้ากลูแคนต่อร่างกาย
1.ปรับระดับการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย
2.ลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัด เช่น  การฉายแสง
3.ปรับการทำงานของภูมิต้านทานที่ผิดปกติ  เช่น  ภูมิแพ้
4.ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  ฟื้นฟูตับอ่อน
5.ช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือด
6.ลดอาการปวดตามข้อ  ไขข้ออักเสบ
7.ลดการอักเสบ  การติดเชื้อแทรกซ้อน
8.บรรเทาอาการท้องผูก  ช่วยระบบขับถ่าย
9.รักษาความชุ่มชื้น  ฟื้นฟูสภาพผิว  ลบเลือนริ้วรอย

เบต้ากลูแคน กับ มะเร็ง
   เบ ต้ากลูแคนเป็นสารปรับระดับภูมิต้านทานโรค  ช่วยกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทานของร่างกาย เมื่อเบต้ากลูแคนสัมผัสกับบริเวณเนื้อเยื่อหุ้มลำไส้ ระบบประสาทพาราซิมพาเตติกจะเริ่มทำงาน ส่งผลต่อเซลล์ภูมิต้านทาน และเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่สร้าง สารไซโตไคน์ (Cytokine) เพื่อฆ่าและทำลายโครงสร้างเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังช่วยลดและป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย (อนุมูลอิสระเป็นสารรบกวนการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ปกติ) ดังนั้นผลจากการรับประทานเบต้ากลูแคน คือ เนื้องอกของมะเร็งจะค่อยๆ ลดขนาดเล็กลง และ เซลล์มะเร็งที่เกิดใหม่จะลดลงด้วย  นอกจากนี้การรักษามะเร็งด้วยวิธีต่างๆเช่น ผ่าตัดศัลยกรรม รังสี รักษา หรือ เคมีบำบัด จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหลายประการแก่ผู้ป่วย  การทานเบต้ากลูแคนควบคู่ กับการรักษาจะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยพร้อมรับการรักษาได้ดีและสามารถฟื้น ตัวได้อย่างรวดเร็ว 

เบต้ากลูแคน กับ เอซ ไอ วี
   มี รายงานการวิจัยหลายรายงานที่รายงานถึง เบต้ากลูแคนว่าสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายได้  แต่อย่างไรก็ดีเบต้ากลูแคนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี ได้ แต่อย่างใด เพราะการติดเชื้อไม่ได้มาจากอาหารแต่มาจากพฤติกรรมการร่วมเพศ แต่พบว่ามีรายงานถึงผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถลดการเกิดการติดเชื้อได้เมื่อได้ รับ เบต้ากลูแคน แต่กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่แน่ชัด คาดว่าน่าจะมาจากการที่ เบต้ากลูแคนสามารถกระตุ้น ให้ระบบภูมิคุ้มกันผู้ป่วยทำงานได้ดีขึ้นทำให้ต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมที่ รุกล้ำเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น จึงทำให้มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นนั่นเอง และจะเห็นเชื้อที่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยเอดส์ก็คือการติดเชื้อราที่ชื่อ ว่า แคนดิด้า ซึ่งเชื้อราประเภทนี้พบได้บ่อยในช่องปากของคนปกติจะไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ในผู้ป่วยเอช ไอ วีนั้นจะเห็นว่ามีการก่อโรคทำให้เกิดการลอกตัวขาวของเยื่อบุช่องปาก อันเป็นผลทำให้ร่างกายผู้ป่วย ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ นำไปสู่การขาดสารอาหารและติดเชื้อและเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น โดย ได้มีรายงานการวิจัยของ Sato K และคณะ พบว่า เบต้ากลูแคนที่มาจากยีสต์ดำ สามารถส่งข้อมูลกระตุ้นเม็ด เลือดขาวที่ชื่อว่า neutrophil และ leukocyte ทำให้สกัดเชื้อราดังกล่าวได้ และนอกจากนี้โครงสร้างผนัง เซลล์ของยีสต์ดำทำให้ เบต้ากลูแคน เป็นสิ่งมีชีวิตตระกูลใกล้เคียงกับ เชื้อแคนดิด้า ทำให้กระตุ้นร่างกาย ผู้ป่วยให้สร้างสารภูมิคุ้มกัน (anti-body) เข้ามาคอยช่วยป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้อีกกลไกหนึ่งด้วย  นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้แก่
- Staphylococcus aureus ทำให้เกิดท้องเสีย อาหารเป็นพิษ และปอดบวมได้
- Candida albican ทำให้เกิดแผลในช่องปาก 
- Pneumocystis carinii ทำให้เกิดโรคปอดบวม 
- Listeria monocytogenes ทำให้เกิดโรค listeriosis ปอดบวม และแท้งลูกได้ 
- Influenza virus ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ และปอดบวมได้

ที่มา :  http://health4friends.lnwshop.com