วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นํ้ามันละหุ่ง สรรพคุณและประโยชน์

ต้นละหุ่ง 


จัดเป็นไม้พุ่มหรือยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร โดยแบ่งออก 2 ชนิด ได้แก่ละหุ่งขาว และละหุ่งแดง โดยต้นละหุ่งขาวจะมีลำต้นและก้านใบเป็นสีเขียว ส่วนละหุ่งแดงจะมีลำต้นและก้านใบเป็นสีแดง ส่วนยอดอ่อนและช่อดอกเป็นสีนวลขาว


เมล็ดละหุ่ง 

ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงรี เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลแดงประขาวหรือเป็นจุดสีน้ำตาลปนเทา เป็นลายคล้ายกับตัวเห็บ สีจะมีแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เนื้อในเมล็ดมีสีขาว มีโปรตีนที่มีพิษ ภายในเนื้อเมล็ดจะมีน้ำมันอยู่ภายใน โดยน้ำมันจากเมล็ดละหุ่ง จะมีลักษณะเป็นของเหลว ข้น เหนียว ใส ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อนๆ น้ำมันมีกลิ่นเล็กน้อย มีรสเฝื่อน มันเอียน และเผ็ดเล็กน้อย

ข้อน่ารู้เกี่ยวกับสมุนไพรละหุ่ง
  • ใบสดนำมาเผาใช้พอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบสด)
  • รากละหุ่ง มีรสจืดใช้ตำเป็นยาพอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน (ราก)
  • รากใช้สุมเป็นถ่านทำเป็นยากินแก้พิษไข้เซื่องซึมได้ (ราก)
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบสด)
  • สรรพคุณละหุ่ง ใบสดช่วยขับลมในลำไส้ (ใบสด)
  • น้ํามันละหุ่ง สรรพคุณมีฤทธิ์เป็นยาระบายอุจจาระหรือยาถ่ายอย่างอ่อนสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ มีฤทธิ์ไปกระตุ้นผนังลำไส้ให้เกิดการบีบตัว ช่วยขับกากอาหารออกมา มักใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคท้องเดินเฉียบพลันที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ เพื่อช่วยในขับถ่ายอาหารที่เป็นพิษออกมา และยังนำมาใช้ในการทำความสะอาดลำไส้ก่อนการเอ็กซเรย์ลำไส้และกระเพาะอาหารอีกด้วย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมวนท้องได้ โดยน้ำมันละหุ่งนี้ต้องสกัดเอาเฉพาะน้ำมันเท่านั้น และไม่ให้ติดส่วนที่เป็นพิษ โดยใช้วิธีการบีบน้ำมันแบบไม่ผ่านความร้อน เนื่องจากหากผ่านความร้อนจะมีโปรตีนที่มีพิษที่เรียกว่า Ricin ติดมาด้วย ส่วนนี้จะไม่นำมาใช้เป็นยา (น้ํามันละหุ่ง)หรือจะใช้ใบสดหรือรากนำมาต้มกินก็มีฤทธิ์เป็นยาระบายเช่นกัน (ใบสด,ราก)
  • ช่วยแก้อาการช้ำรั่ว หรืออาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (ใบสด)
  • ละหุ่ง สรรพคุณของใบสดช่วยขับระดูของสตรี (ใบสด)
  • ใบละหุ่ง ใช้ห่อกับก้อนอิฐแดง เผาไฟ ใช้ประคบแก้ริดสีดวงทวาร (ใบสด)
  • รากใช้ปรุงเป็นยาสมานได้ (ราก)
  • เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาพอกแผลได้ (เมล็ด)
  • ใบสดนำไปเผาไฟใช้พอกรักษาแผลเรื้อรังได้ (ใบสด)
  • ใบสดใช้ตำพอกเป็นยารักษาฝีได้ (ใบสด)
  • ยาขี้ผึ้งน้ำมันละหุ่งที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5-10 สามารถนำมาใช้ทารักษาผิวหนังอักเสบได้ (ยาขี้ผึ้งน้ำมันละหุ่ง)
  • น้ำมันจากเมล็ดใช้เข้ายากับน้ำมันงา ใช้ทาแก้กระดูกหัก กระดูกแตกได้ (น้ํามันละหุ่ง)
  • ใบสดนำไปเผาไฟใช้พอกแก้อาการปวดบวม หรือปวดตามข้อได้ (ใบสด)
  • เมล็ดละหุ่งนะมาทุบแล้วเอาจุดงอกออก (เอาเปลือกและดีหรือใบอ่อนออก) ใช้ต้มกับนมครึ่งหนึ่ง แล้วต้มกับน้ำเพื่อทำลายพิษ ใช้กินแก้อาการปวดข้อปวดหลังได้ (เมล็ด)
  • ช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบสด)
  • ใบมีรสจืดและขื่น มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงบางชนิดได้ (ใบสด)
  • โปรตีนจากละหุ่ง ส่วนหนึ่งของโปรตีน Ricin ซึ่งเป็นพิษคือ dgA สามารถจับกับ Antibody ของไวรัสเอดส์ได้ เมื่อพบเซลล์ไวรัส มันจะปล่อย Ricin ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยมีความสามารถในการเลือกจับเฉพาะเซลล์ที่มีไวรัส ซึ่งมีผลต่อเซลล์ปกติเพียง 1/1,000 ของเซลล์ที่มีไววัสเท่านั้น และการค้นพบครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนายาที่ช่วยป้องกันหรือเลื่อนเวลาของการเกิดโรคเอดส์ได้

ที่มา http://health4friends.lnwshop.com/
รูปประกอบจากอินเตอร์เนต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น