วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กินข้าวเป็นยา 2 - ข้าวเล็บนก

กำเนิดข้าวเล็บนก

จาก ความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ.2537 จึงทรงพระกรุณาฯ ให้กรมการข้าว กระทรวงเกษตร มอบหมายให้สถานีทดลองข้าวปัตตานี เก็บรวบรวมสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองต่างๆของภาคใต้ พบว่ามีสายพันธุ์ข้าวมากกว่า 307 สายพันธุ์ โดยมาจาก 107 อำเภอ และ 14 จังหวัด และได้มีการทดลองปลูกคัดเลือกจนได้สานพันธุ์ข้าวบริสุทธุ์ โดยมีรหัสประจำสายพันธุ์ข้าวนี้ว่า PTNG 84210 เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมจากตำบลชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง แล้วให้ชื่อสายพันธุ์นี้ว่า"ข้าวเล็บนก-ปัตตานี"

"ข้าวเล็บนก" เป็นข้าวประเภทไวต่อช่วงแสง หากปลูกให้ได้รับแสงแดดมากกว่า 10-12 ชั่วโมงต่อวัน จะไม่แตกช่อออกรวง แต่จะแตกใบอ่อนแทน จึงทำให้ปลูกได้ยากมากและปลูกได้เพียงปีละครั้งเดียวเท่านั้น แต่อุปสรรคนี้ก็เป็นผลทำให้"ข้าวเล็บนก" เป็นข้าวที่มีคุณภาพเยี่ยมที่สุด เมื่อนำมาหุงแล้ว ข้าวจะขึ้นหม้อ มีกลิ่นหอม มีรสชาติดี เคี้ยวนุ่มปาก และที่สำคัญคือ อร่อย

ข้าวเล็บนกดั้งเดิมนั้น นิยมปลูกในแถบจังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล นราธิวาส ปัตตานี เป็นการปลูกแบบนาดำ-นาหว่าน น้ำขัง ผลผลิตที่ได้จึงไม่สูงมากนัก และที่สำคัญชาวไทยเกือบไม่ได้รับประทาน เพราะพ่อค้าชาวมาเลเซียและสิงคโปร์จะกว้านซื้อข้าวเพื่อส่งออกไปบริโภคใน ประเทศของตน ถือเป็นข้าวชั้น 1 เกรด A ระดีบพรีเมี่ยมและมีราคาสูงกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆมาก

ต่อมาโครงการ หลวงได้นำพันธุ์"ข้าวเล็บนก"ขึ้นไปทดลองปลูกที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีขุดหลุดแล้วหยอดพันธุ์ข้าวเปลือกลงไป เรียกว่าข้าวไร่ข้าวดอย จากสภาพอุณหภูมิที่หนาวเย็นในเวลากลางคืนและอบอุ่นในเวลากลางวันและสภาพ อากาศที่บริสุทธิ์ของยอดดอยตลอดทั้งปี ทำให้ได้ผลผลิตสูงและมืคุณภาพดียิ่ง จึงนิยมเรียกกันตามภาษาพื้นเมืองว่า"ข้าวเล็บนกปกาเกอญอ"


ที่มา : http://health4friends.lnwshop.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น