ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ - เร่งการเจริญเติบโตของพืช - เร่งการออกดอกของพืช - เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น - เป็นสารไล่แมลงศัตรูพืชง - เป็นสารเสริมสุขภาพในคนและสัตว์ - บำบัดกลิ่นเหม็นในปศุสัตว์ - ฉีดพ่นก่อนไถกลบตอซังทำให้ตอซังนิ่ม - บำบัดน้ำเสียในการประมง - เป็นสารเร่งและเป็นธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยหมัก วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ จำแนกได้เป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด 2. การทำน้ำหมักชีวภาพจ่ากผลไม้ 3. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลา 4. การทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ 5. การทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือน 6. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสูตรรวมมิตร 7. การทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด ส่วนผสม 1. พืชสดทั่วไปที่หาได้ในหมู่บ้าน เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักขม ผักเสี้ยน หรืออื่น ๆ ที่สดตัดให้เป็นชิ้นเล็กรวมกัน 3 ส่วน 2. กากน้ำตาล 1 ส่วน 3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน 4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี) วิธีทำ นำพืช กากน้ำตาลเปลือกสับปะรด และน้ำมะพร้าวตามอัตราส่วนผสมคลุกเคล้าด้วยกันบรรจุลงในถังหมักพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้ ประโยชน์ / วิธีใช้ - เร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 - 7 วัน - ใช้เป็นสารเร่งและเพิ่มคุณภาพปุ๋ยหมัก ใช้กำจัดกลิ่นน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์ใช้นำหมักชีวภาพ 15 - 20 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ราด รดให้ชุ่ม - ให้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะปลูก 12 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แช่เมล็ดพันธุ์ วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ ส่วนผสม 1. ผลไม้สุก เช่น ฟักทอง มะละกอ กล้วยน้ำหว้า หรือมะเขือเทศรวมกัน 2 ส่วน 2. พืชสดหลาย ๆ ชนิดสับเป็นชิ้นเล็ก 1 ส่วน 3. กากน้ำตาล 1 ส่วน 4. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน 5. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี) วิธีทำ นำผลไม้ พืชสด กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด น้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน บรรจุถังหมักพลาสติกปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้ ประโยชน์ / วิธีใช้ เร่งการติดดอก ติดผล ของพืชผักผลไม้ ใช้นำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ(20 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 5-7 วัน ตั้งแต่ระยะพืชออกดอก และติดผลได้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ ส่วนผสม 1. เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียดหรือปลา 2 ส่วน 2. กากน้ำตาล 1 ส่วน 3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน 4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี) วิธีทำ นำหอยเชอรี่ทุบหรือบดละเอียดหรือปลา กากน้ำตาลและเปลือกสับปะรดผสมคลุกเข้าด้วยกัน ตามอัตราส่วน บรรจุลงถังหมักปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มนาน 15-30 วัน ใช้งานได้ ประโยชน์และวิธีใช้ ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช วิธีทำ 1. ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพียงแต่เปลี่ยนชนิดพืชผัก ผลไม้เป็นชนิดพืชที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ บอระเพ็ด สาบเสือ อื่น ๆ 2. หรือจะใช้วิธีนำพืชดังกล้าวมาทุบหรือตำให้แตก แช่น้ำหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นพืชได้ ประโยชน์ / วิธีใช้ เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพทั่วไป ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำและใช้น้ำหมักชีวภาพ 1. ควรใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น ราด รดพืชผัก ผลไม้ในเวลาเช้าหรือเย็นไม่ควรให้ถูกแสงแดดเนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีชีวิต คือ จุลนทรีย์ที่เป็นประโยชน์ 2. ไม่ควรใช้นำหมักชีวภาพร่วมกับสารเคมีทุกชนิด 3. เคล็ดลับการหมัก ให้คอยเขย่าถังหมักพร้อมเปิดฝาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่นว่าหอมหวานแสดงว่าดีใช้ได้ แต่ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลเพิ่มหมักต่ออีก 3 วัน แล้วให้ดมกลิ่นดู ถ้ายังมีรกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมกากน้ำตาลหมักไว้จนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน การเก็บน้ำหมักชีวภาพที่ดีต้องเก็บไว้ในที่มืดภายในอุณหภูมิห้องนาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างที่เก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวก็ให้เติมกากน้ำตาลลงไปแล้วหมักต่อ 4. การใช้น้ำหมักชีวภาพ ถ้าจะให้ได้ผลต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ วิธีที่ 1 การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก และน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้นให้สักเกตุดู ว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไป ถือว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นน้ำหมักชีวภาพหอยเชอ รี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมผสานกับปุ๋ยน้ำอื่น ๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป วิธีที่ 2 การทำจากไข่หอยเชอรี่ นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้นำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือกแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อ จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 วิธีที่ 3 การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืช นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อน ๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้วเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหมักหัวเชื่อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3 : 3 : 1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 วิธีที่ 4 นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะ พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะเพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจาก เปลือกได้ง่ายขึ้นและนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดให้ได้จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 วิธีที่ 5 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและชิ้นส่วนของพืชที่อ่อน ๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3 : 3 : 1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่4 วิธีที่ 6 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ไข่หอยเชอรี่และพืชสด วิธีการนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้ อัตราส่วน ดังนี้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว :ไข่หอยเชอรี่ :พืชก่อน อัตรา 3:3:5-6:2:3 มีข้อสังเกตุเพียงดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อ จุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใดให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหมัก เช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุ น้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตราเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจะลินทรีย์ธรรชาติอัตราการใช้พืชที่ อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1:500-10,000 หรือจาการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสมคือ 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุช่วงการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ส่วนผสม 1. มูลสัตว์แห้ง 3 ส่วน 2. แกลบดิบเปลือกถั่วหรือเศษพืช 3 ส่วน 3. แกลบดำ 1 ส่วน 4. รำละเอียด 1 ส่วน 5. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร วิธีทำ นำส่วนผสมต่าง ๆ คลุกเข้าด้วยกัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักกองไว้ 5-7 วัน ในที่ร่มโดยจะกองกับพื้นดินคลุมด้วยกระสอบ หรือบรรจุกระสอบปิดปากก็ได้ถ้ามีใยสีขาวมีกลิ่นหอม แสดงว่าใช้งานได้ วิธีการทำปุ๋ยหมักดินชีวภาพ ส่วนผสม 1. ดินแห้งทุบละเอียดหรือดินขุยไผ่ 5 ส่วน 2. มูลสัตว์แห้ง 2 ส่วน 3. แกลบดำ 2 ส่วน 4. รำละเอียด 2 ส่วน 5. ขุยมะพร้าว 2 ส่วน 6. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร วิธีทำ นำส่วนผสม 1-5 ผสมคลุกเข้ากัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักไว้ 3-5 วัน มีราขึ้นกลิ่นหอมเหมือนเห็ดใช้งานได้ ประโยชน์ / วิธีใช้ เหมาะสำหรับผสมดินทั่วไป ใช้เพาะต้นไม้ ปักชำ ตอนกิ่ง จะทำให้ต้นกล้าไม้สมบูรณ์ แข็งแรง โดยใช้ปุ๋ยหน้าดินผสมดินร่วนแกลบเผาผสมคลุกเข้ากันให้ดีก่อนนำไปใช้ในอัตรา 1:1:1 การทำปุ๋ยคอกหมักชีวภาพ ส่วนผสม 1. ปุ๋ยคอก 1 ส่วน 2. แกลบเผา 1 ส่วน 3. รำละเอียด 1 ส่วน 4. น้ำหมักชีวภาพ และกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร วิธีทำ นำส่วนผสมมาคลุกเข้าด้วยกัน รดน้ำด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม กองปุ๋ยหมักหนา ประมาณ 1.5 ซม. คลุมด้วยกระสอบพลิกกลับวันละ 1 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 วันนำไปใช้ได้ วิธีใช้ ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด ปุ๋ยคอกจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพกับไม้ผล ไม้ยืนต้น การเตรียมหลุมปลูก ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินเดิม คลุมด้วยฟาง รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วันก่อนปลูก ไม้ผลที่ปลูกแล้ว 1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดกิ่งใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรบริเวณรอบทรงพุ่มคลุมด้วยฟางใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2 ครั้ง 2. รดด้วยน้ำหมักชีวภาพเพื่อกระตุ้นการแตกยอดจากใบใหม่ อัตรา 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตรเดือน ละ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตล 3. เมื้อไม้ผลติดดอก ติดผล ควรเพิ่มการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้หรือจากสัตว์ เป็นเดือน | |||||||||||||||||||
จาก ภูมิปัญญาชาวบ้าน ความเป็นมาและประโยชน์น้ำหมักชีวภาพหรือEM อาทิตย์ ที่ 7 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 |
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วิธีทำและใช้น้ำหมักชีวภาพหรือนํ้าEM
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)