วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หมามุ่ย สมุนไพรรักษาโรคพาร์คินสัน

โรคพาร์กินสัน

เกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งสารสื่อประสาทโดพามีน

สารสื่อประสาทโดพามีนคือ

สารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว

อาการของผู้ป่วยพาร์คินสัน

 - ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการสั่น และมักเป็นข้างเดียว โดยเฉพาะที่มือ อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมกัน เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง ทรงตัวไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า หดหู่ ความจำเสื่อมร่วมด้วย จากก้อนโปรตีนผิดปกติเกิดขึ้นที่พบเป็นรอยโรคในสมอง

ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาพาร์คินสัน

หากเป็นผู้ป่วยอายุน้อย ยังไม่ถึง 70 ปี หรือมีอาการของโรคไม่มาก แพทย์จะเริ่มใช้ยาในกลุ่ม MAO-B inhibitor เช่น Selegiline ออกฤทธิ์เพิ่มระดับโดพามีนในสมอง หรือ Dopamine agonists เช่น Pramipexole, Bromocriptine ออกฤทธิจับกับตัวรับโดพามีนในสมอง เหตุผลที่เลือกใช้ยาในสองกลุ่มนี้ก่อน เนื่องจากช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้ เพราะมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมอง (neuroprotective effect) สำหรับ Selegiline ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นผลดีต่อโรค

 - สำหรับผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี หรือมีอาการของโรคมาก  แพทย์จะเลือกใช้ยา Levodopa ซึ่งข้อเสียของLevodopa คือหลังจากใช้ยากลุ่มนี้ไประยะเวลาหนึ่งจะทำให้เกิดอาการไม่สม่ำเสมอต่อยา (motor fluctuation) เช่นผู้ป่วยจะรู้สึกว่ายาหมดฤทธิ์เร็วกว่าเดิม

สมุนไพรเพื่อการรักษาพาร์คินสัน

หมามุ่ย เป็นสมุนไพรที่ศาสตร์อายรุเวทของอินเดีย ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมาเป็นเวลานาน ผลการศึกษาพบว่าเมล็ดหมามุ่ยเป็นแหล่งธรรมชาติของ L-dopa พบ 3.1-6.1% และอาจพบสูงถึง 12.5% ในขณะที่ส่วนใบของหมามุ่ยพบเพียง 0.5% ซึ่ง L-dopa เป็นสารตั้งต้นของโดพามีน โดยพบว่า L-dopa ในหมามุ่ยมีข้อดีกว่ายาสังเคราะห์ Levodapaตรงที่มีความแรงในการออกฤทธิ์มากกว่า Levodopa 2-3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบในขนาดเทียบเท่ากับ Levodapa เดี่ยว

 -   มีสมมุติฐานว่าในสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยอาจมีสารสำคัญบางตัวที่ทำหน้าเหมือน Dopamine Decarboxylase Inhibitors ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ต้องให้ร่วมกับ Levodopa เสมอ เพื่อยับยั้งเอนไซม์ Dopamine Decarboxylase ที่จะทำลาย Levodopa อันจะทำให้การ ออกฤทธิ์ของ Levodopa ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าเมล็ดหมามุ่ย ยังออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า และมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ นานกว่า Levodopa/Carbidopa เมล็ดหมามุ่ยยังมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมอง (neuroprotective effect)  ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านความเครียดที่ส่งผลให้เซลล์สมองถูกทำลาย (ศึกษาในหนูทดลอง) เพิ่มระดับกลูตาไทโอน ซึ่งจะมีปริมาณลดลงในหนูทดลอง ที่มีภาวะเครียด มีฤทธิ์จับกับโลหะหนัก ซึ่งช่วยปกป้องการถูกทำลายของ DNA ในเซลล์สมอง (มีบางการศึกษาเชื่อว่า Levodapa me เพิ่มการทำลาย DNA ในสมอง)

-  ในใบแรกที่งอกออกมาจากเมล็ด (cotyledon) ของเมล็ดหมามุ่ยยังพบ ส่วนประกอบสำคัญที่ส่งผลดีต่อการรักษาพาร์กินสัน คือ Nicotine adenine dinucleotide และ coenzyme Q-10 บางการศึกษายังพบว่าหมามุ่ยช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทจำพวกซีโรโทนิน ซึ่งเป็นผลดีในการรักษาอาการซึมเศร้า จึงอาจกล่าวได้ว่าในอนาคตหมามุ่ย อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นยาเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ทดแทนยาสังเคราะห์จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามไม่ควรนำหมามุ่ยมาทำเป็นยารักษาเอง  จนกว่าจะมีผลการศึกษายืนยันในด้านสายพันธุ์ของหมามุ่ยที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ในคน

Cr : http://health4friends.lnwshop.com/
ที่มา : ห้องสมุดอภัยเฮิร์บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น