วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคไต 1 - หญ้าหนวดแมว

ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา


สารสำคัญ ในใบของหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียม ในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %
ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา


วิธีการใช้+คำแนะนำ              

       ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 – 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นสั้นๆ ตากแดดให้แห้ง ใช้ครั้งละประมาณ 2 กรัมโดยชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาแล้วทิ้งไว้ 5 – 10 นาที ให้ดื่มขณะร้อนๆ วันละ3 ครั้งดื่มก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมากๆ

 ข้อควรระวัง

 - เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูง จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ
 - ไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
 -  ควรใช้ใบตากแห้ง เพราะใบสดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น
 - ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะสารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยา จำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น


จาก ครูบ้านนอกดอทคอม
รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ที่มา :  http://health4friends.lnwshop.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น