วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟักข้าวพืชต้านมะเร็งและเพิ่ม CD4 ในคนไข้เอดส์

ฟักข้าว
เป็น ผักที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเรากินกันอยู่เป็นประจำ โดยจะกินยอดอ่อนและผลอ่อน เป็นผักลวกนึ่งกินกับน้ำพริกหรือแกงกิน เรามักจะพบผลอ่อนและยอดอ่อนของฟักข้าววางขายอยู่ในตลาดตามชุมชนทางภาคเหนือ ในภาคอีสานนั้นชาวบ้านจะกินยอดอ่อนและผลอ่อนเป็นผักเช่นกัน โดยจะเรียกฟักข้าวว่า “หมากอูบข้าว” เนื่องจากลักษณะผลจะคล้ายคลึงกับ “อูบข้าว” ภาชนะใส่ข้าวเหนียวของคนอีสาน มีลักษณะคล้ายๆ กระติบข้าวแต่มีรูปทรงรีๆ กลมๆ นอกจากจะกินผลอ่อนและยอดอ่อนแล้ว ชาวบ้านแถวอีสานยังกินเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงรสจืดๆ มันๆ เป็นของทานเล่น ส่วนเนื้อในเมล็ดก็มีหมอยาบางคนเอามากินเช่นกัน แต่ไม่นิยมกินกันในวงกว้างเท่าใดนัก

ฟักข้าว ผักรวย “ไลโคพีน”กินลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อ ไม่นานมานี้มีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับผักเวียดนามชนิดหนึ่งชื่อ “แกก (Gac)” ในการมีสรรพคุณต้านมะเร็งอย่างแพร่หลาย ผักที่ว่านี้คือฟักข้าวนั่นเอง ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่คนเวียดนามดูเหมือนจะนิยมกินฟักข้าวมากกว่าชนชาติอื่นๆ โดยมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร โดยจะเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียวทำให้ข้าวมี สีแดง ใช้ในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้นเพราะเชื่อว่าสีขาวไม่เป็นมงคล ปัจจุบันพบว่าเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวสีแดงนั้นมีสารชื่อ “ไลโคพีน” โดยจะมีสารไลโคพีนสูงสุดในบรรดาผักผลไม้ที่ให้ไลโคพีนทั้งหลาย ดังนี้ มะเขือเทศสุก ๓๑ ไมโครกรัมต่อกรัม แตงโม ๔๑ ไมโครกรัมต่อกรัม ฝรั่ง ๕๔ ไมโครกรัมต่อกรัม ส้มโอ ๓๓.๖ ไมโครกรัมต่อกรัม เยื่อเมล็ดฟักข้าว ๓๘๐ ไมโครกรัมต่อกรัม เป็นต้น

ไลโคพีน
เป็น สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น เมื่อร่างกายของเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ วงการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และที่สำคัญพบว่าไลโคพีนมักจะไปสะสมบริเวณต่อมลูกหมากและผิวหนัง อย่างไรก็ตามการต้านอนุมูลอิสระนั้นต้องทำงานกันเป็นทีม ดังนั้นควรจะรับประทานอาหารให้หลากหลาย ที่สำคัญคือรายงานการศึกษาสมัยใหม่มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลาว่าปริมาณ สารไลโคพีนมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจริงหรือไม่ แต่เมื่อไม่นานนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารไลโคพีนมีปริมาณของสารที่เป็นตัว ชี้วัดสุขภาพของต่อมลูกหมาก prostate-specific antigen (PSA) ลดลง ซึ่งหมายถึงสุขภาพของต่อมลูกหมากดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการรับประทานผักที่มีสารไลโคพีนสูงจึงมีประโยชน์ต่อผู้ชายซึ่งมักจะ มีปัญหาของต่อมลูกหมากเมื่อสูงวัยขึ้น
ปัจจุบันมีรายงานการ ศึกษาวิจัยของฟักข้าวต่อการรักษาและป้องกันมะเร็งในประเทศต่างๆ เช่นจีน พบว่าโปรตีนจากเมล็ดฟักข้าวมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง ประเทศเวียดนามพบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษา มะเร็งตับ ประเทศไทยพบโปรตีนในเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอ วี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว
งาน วิจัยอื่นในต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีนมอร์มอโคลซิน-เอส และโคลซินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ต้านมะเร็งได้ในวันข้างหน้า ประเทศญี่ปุ่นทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ใน หนูทดลอง และน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดย ทำให้เซลล์แตกตาย จากการศึกษาที่ผ่านมาจะเห็นว่าในส่วนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมาจากสาร โปรตีนในเมล็ดแก่ น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด น้ำสกัดจากผล แต่ในส่วนของเนื้อในเมล็ดนั้น เนื่องจากไม่มีการรับประทานกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง จึงควรที่จะต้องศึกษาหาความปลอดภัยก่อนที่จะนำมาใช้กิน ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดนั้นมีการทำเป็นเครื่องดื่มออกจำหน่ายกันบ้างแล้วในต่าง ประเทศ สำหรับท่านที่ปลูกฟักข้าวไว้ ก็อาจจะรวบรวมสารเยื่อหุ้มเมล็ดตากเก็บไว้ชงน้ำกินเป็นเครื่องดื่มบำรุงสาย ตา บำรุงสุขภาพก็ได้ ในส่วนที่เป็นผลนั้นชาวบ้านกินกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ดังนั้นการปลูกการกินฟักข้าวมีแต่ประโยชน์กับประโยชน์

ฟักข้าว ยาเย็นแก้ไข้ แก้พิษ
ฟักข้าว เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ มักจะพบการใช้เถา ราก หรือใบ เป็นส่วนประกอบของการรักษา การถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษอักเสบ แก้กษัย แก้พิษฝี แก้ฝีในท้อง แก้ปวดบวม ดูดหัวฝี แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเหา รวมทั้งใช้สระผมแทนแชมพู ส่วนของเมล็ดก็นิยมใช้เป็นยาทาภายนอกโดยตำผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว ในการรักษาหูด อาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ

ฟักข้าว อาหารพื้นบ้าน ใครทานก็ติดใจ
ผล ฟักข้าวอ่อนสีเขียวรสชาติเหมือนมะละกอดิบ นิยมลวกหรือต้มให้สุก ต้มกะทิจิ้มน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบหรือแกงกิน ยอดอ่อน ใบอ่อนเช่นกันกับยอดบวบ ยอดฟักทอง นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบ หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ผลสุกกินได้รสหวานปะแล่มๆ แต่เนื้อน้อยกว่าแตงไทยมาก เยื่อหุ้มเมล็ดนิยมนำมากินเล่น รสจืดๆ มันๆ สัตว์ป่าจำพวกหมูหริ่ง เก้ง บ่าง ชอบมากินผลสุกที่ร่วงลงมา แล้วช่วยกระจายพันธุ์ให้กับฟักข้าวในธรรมชาติ
  ฟักข้าวเป็นผัก พื้นบ้านที่คนปัจจุบันหันกลับมาให้ความสำคัญกันมากด้วยกลัวการเป็นมะเร็ง นับเป็นปัญหาสุขภาพที่คร่าชีวิตคนไทยไปปีละไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คนไทยได้หันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาของปู่ย่าตา ยาย เพื่อนำมาปรับใช้กับสังคมสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันและเข้าใจ

วิธีทำน้ำฟักข้าว
1.นำผลฟักข้าวสุกมาผ่าครึ่ง คว้านเอาเมล็ดสีแดงออก
2.นำเมล็ดฟักข้าวใส่ในภาชนะทรงกระบอก เติมน้ำต้มสุก 2 ถ้วย ตีด้วยตะกร้อตีไข่หรือซ้อม ให้เยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกจากเมล็ด
(ระวังอย่าให้เมล็ดแตก เพราะเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาเบื่ออ่อนๆ ที่อาจทำให้เอาเจียนและท้องเสียได้) กรอกเอาแต่น้ำสีแดง
3. เติมน้ำต้มสุกอีก 1 ถ้วย ตีจนเยื่อหุ่มเมล็ดหลุดออกมาจนหมดและน้ำที่ได้ใสขึ้น
4.น้ำ น้ำฟักข้าวไปผสมกับน้ำผลไม้กลิ่นแรง เช่น เสาวรส สับปะรด ฝรั่ง เพิ่มเพื่อรสชาติ เนื่องจากน้ำฟักข้าวอาจรับประทานยากกว่าน้ำผลไม้ทั่วไปที่มีรสหวานหรือ เปรี้ยวอมหวาน การนำไปผสมกับน้ำผลไม้จะช่วยรับประทาได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้คุณค่าสารอาหารเพิ่มมากขึ้น



ที่มา : health4friends.lnwshop.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น