วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้ของสมุนไพร ชื่อ รากสามสิบหรือสาวร้อยผัว

เรื่องน่ารู้ของรากสามสิบหรือสาวร้อยผัว

"สาว ร้อยผัว"  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Asparagus Racemosus Willd เป็นสมุนไพรที่คนไทยและคนเอเชียใช้กันมาช้านานแล้ว  คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละภาค  ชื่อในภาคกลางหรือคนทั่วไปเรียกขานว่า  "รากสามสิบ" หรือ "สามร้อยราก" นั่นเอง
หมอ ยาโบราณส่วนใหญ่จะรู้ว่าสาวร้อยผัวเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี  จึงให้ชื่อว่า "สาวร้อยผัว" ชื่อนี้หมายถึงไม่ว่าสาวใดจะอายุเท่าไรก็ยังสามารถมีลูกมีผัวได้ ความหมายคล้ายๆสาวสองพันปีที่ยังสาว เสมอนั่นเอง และ เป็นที่น่าแปลกใจว่าในอินเดียก็เรียกสมุนไพรชนิดนี้คล้ายกับเมืองไทย โดยในภาษาสันสกฤต เรียกว่า ศตาวรี(Shtavari) มีความหมายว่า ต้นไม้ที่มีรากหนึ่งร้อยราก หรือบางตำราบอกว่าหมายถึงผู้หญิงที่มีร้อยสามี "Satavari" (this is an India word meaning’a woman who has a hundred husbands) รากสามสิบเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ พระเวท  ซึ่งเป็นคำภีร์ที่มีมาก่อนอายุรเวทด้วยซ้ำ จึงน่าจะถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานหลายพันปีแล้ว และในอินเดียใช้รากสามสิบทำ เป็นของหวานเช่นเดียวกับเมืองไทย (รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม)
ใน ตำราอายุรเวทใช้รากสามสิบเป็นสมุนไพรหลักสำหรับบำรุงในผู้หญิง ในการทำให้ผู้หญิงกลับมาเป็นสาว (Female rejuvention)  นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆของผู้หญิงเช่น ภาวะประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก  ตกขาว  ภาวะอารมณ์ทางเพศเสื่อมถอย  ภาวะหมดปะจำเดือน(menopause)  และใช้บำรุงน้ำนม  บำรุงครรภ์  ป้องกันการแท้ง(habitual abortion)  และอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ของผู้หญิง
แม้ สมุนไพรชนิดนี้จะโดดเด่นต่อสตรีเพศแล้ว ในอินเดียยังใช้ในการเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้ชายอีกด้วย  ซึ่งก็คงคล้ายกับทางภาคเหนือของไทยที่ใช้สาวร้อยผัว หรือที่เรียกในภาคเหนือว่า "ม้าสามต๋อน"  เป็นยาดองเพื่อเพิ่มพลังทางเพศชาย  และยังใช้เพื่อสรรพคุณทางยาอื่นๆอีกมาก เช่น ยาแก้ไอ ยารักษาโรคกระเพาะ ยาแก้บิด  แก้ไข้  แก้อักเสบ  ซึ่งจัดได้ว่าสมุนไพรชนิดนี้เป็นสมุนไพรที่ใช้มากที่สุดในอินเดียชนิดหนึ่ง  ในปี ค.ศ. 1992-2000 อินเดียใช้สมุนไพรชนิดนี้ถึง 8,460 ตัน เป็นอันดับสองรองจากมะขามป้อมที่ใช้อยู่ที่ 15,147 ตัน ปัจจุบันมีสารสกัดด้วยน้ำของรากสามสิบจากอินเดียไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกา ในลักษณะเป็น dietary supplement หรือพวกอาหารเสริมที่สามารถขายได้ ทั่วไปไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
สาว ร้อยผัว หรือ รากสามสิบ เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยกันมากพอสมควร ในด้านการศึกษาวิจัยในห้องทดลองพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คือ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา คลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ แก้การอักเสบ แก้ปวด มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งโรคเบาหวาน  กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ  ลดระดับไขมันในเลือด  ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด   ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง  ขับน้ำนม  ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ  ในการศึกษาด้านความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การใช้รากสามสิบในขนาดสูง 2 กรัม ต่อกิโลกรัมด้วยการกินไม่พบพิษ  และการใช้ในระยะยาวด้วยการต้มน้ำ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แล้วให้กินทั้งเนื้อและน้ำนาน  4-32 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติ  จะเห็นได้ว่ารากสามสิบนั้น  นับว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามาก  เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 

การศึกษาวิจัยสมัยใหม่
สาวร้อยผัว หรือรากสามสิบเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยกันมากพอสมควร ในด้านการศึกษาวิจัยในห้องทดลองพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คือ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา คลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ ลดการอักเสบ แก้ปวด มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งเบาหวาน เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ขับน้ำนม ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ

ในการศึกษาด้าน ความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การใช้ในขนาดสูง ๒ กรัมต่อกิโลกรัมด้วยการกินไม่พบพิษ และการใช้ในระยะยาวด้วยการต้มน้ำ ความเข้มข้น ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แล้วให้กินทั้งเนื้อและน้ำนาน ๔ และ ๓๒ สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุม
การ ศึกษาที่กล่าวข้างต้นเป็นการศึกษาในห้องทดลอง ทำการทดลองกับสัตว์ทดลอง ดังนั้นการนำมาใช้เป็นยากับคนจึงต้องมีการศึกษาทดลองกันต่อไป ส่วนที่มีการทดลองทางคลินิก (การใช้ในคนจริงๆ) คือการใช้ในการรักษาโรคกระเพาะ โดยการให้รับประทานผงแห้งของราก พบว่าได้ผลดีในการรักษาแผลในกระเพาะและลำไส้เล็ก และอาการที่มีกรดเกิน (Acid dyspepsia)

ข้อควรระวัง
เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้หายไปจากสังคมมานาน การที่จะนำมาใช้เป็นยาอีกครั้งควรระวัง เพราะเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงห้ามใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เช่น ท่านที่เป็นโรค Uterine fribrosis หรือ Fibrocystic breast


จาก ไตรย ตำรับยา ตำราไทย
รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ที่มา http://health4friends.lnwshop.com



1 ความคิดเห็น: