วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กินข้าวเป็นยา 3 - ข้าวสังข์หยด

ข้าวสังข์หยด พัทลุง

       พันธุ์ ข้าวที่ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ. 2543 ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ในพื้นที่แปลงนา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปยังฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ครั้งนั้น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด ซึ่งทรงนำมาเสวย ทรงรับสั่งว่าอร่อย ทรงโปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาปลูกใหม่เพื่อเผยแพร่ และรักษาพันธุ์ข้าว ต่อมาในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ทรงโปรดให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด เผยแพร่กับประชาชนที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และในปีนี้ (2548) ศูนย์ศิลปาชีพได ้นำข้าวสังข์หยดมาแนะนำ และเผยแพร่ ในงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพใน วันที่ 15-31 กรกฎาคม นี้

จังหวัดพัทลุง เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของชาวใต้มาแต่โบราณ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ เพื่อเลี้ยงคนในพื้นที่และจังหวัดต่างๆในภาคใต้ ด้วยเหตุแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางด้าน ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งปลูกฝังคู่กับเมืองพัทลุงมาเป็นเวลานาน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้หลากหลายพันธุ์ จึงมีถิ่นกำเนิดจากเมืองพัทลุงแห่งนี้ ข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวพื้นเมืองภาคใต้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเพาะปลูกเมืองพัทลุง จากเอกสารหลักฐานบัญชีรายชื่อข้าวที่รวบรวมจากท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ โดยกองบำรุงพันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ได้รวบรวม และปรากฏชื่อ ข้าวสังข์หยด ใน locality No. ที่ 81 เมื่อปี พ.ศ. 2495 – 2496 เก็บจากอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมานาน ไม่ต่ำกว่า 50 ปี และปัจจุบันยังคงปลูกอยู่ในจังหวัดพัทลุงข้าวพันธุ์สังข์หยดมีลักษณะแตกต่าง จากข้าวพันธุ์อื่น คือ ข้าว สารหรือข้าวกล้องที่มีเหยื้อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม ในเมล็ดเดียวกันเมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัว ลง ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่มอร่อยแล้วยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าว อื่นๆ เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง โดยเฉพาะ ไนอาซีน มีมากถึง 3.97 มิลิกรัม ซึ่งมีน้อยในข้าวสายพันธุ์ อื่นๆ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการคัด เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมของข้าวสังข์หยด และศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 พัทลุง ทำการขยายพันธุ์ในแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ เพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการ ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ให้เกษตรกรในเขตจังหวัดพัทลุงในปี 2548 นวทางในการจัดจำหน่าย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในร้านสุวรรณชาด และซุปเปอร์สโตร์ชั้นนำในกรุงเทพมหานครตลอดจน ร้านอาหารสุขภาพต่างๆ การส่งเสริมข้าวสังข์หยดให้เป็นข้าวเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง จึงเริ่มดำเนินการ ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ ที่เพิ่มคุณค่า และตรงกับความต้องของตลาดภายใน และต่างประเทศ ละด้วยคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้าวพันธุ์สังข์หยดจึงจัดอยู่ในระดับตลาดข้าว คุณภาพดีพิเศษได้

ข้าวสังข์หยดพัทลุง "ข้าวจีไอ" พันธุ์แรกของไทย

    พันธุ์ข้าวเลื่องชื่อของภาคอีสานต้องยกให้ "ข้าวหอมมะลิ" แต่สำหรับภาคใต้แล้ว ชื่อชั้นของ "ข้าวสังข์หยด" กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้องที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้าน

ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดพัทลุงที่มีการปลูกและเป็นที่นิยมในท้องถิ่นมานาน
หลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเป็นข้าวนาสวนที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี และที่สำคัญเมื่อหุงสุกแล้ว ข้าวสังข์หยด จะมีความอ่อนนุ่ม ค่อนข้างเหนียว ทำให้ย่อยง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่ใช้แรงงานหนัก
     ปัจจุบัน กระแสความ นิยมของผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ ปลอดภัยจากสารพิษ จึงทำให้มีการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกสู่ตลาดกันมากขึ้น"ข้าวสังข์หยด" เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง มากขึ้นตามลำดับเช่นกัน
     นอกจากนี้ เมื่อวัน ที่ 23 มิถุนายน 2549 ข้าวสังข์หยดพัทลุงยังได้รับคำประกาศรับรองให้เป็น "สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" หรือข้าวจีไอ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่ง บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง "นับเป็นข้าวจีไอพันธุ์แรกของประเทศไทยซึ่งชาวนาพัทลุงต่างภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้รักษามรดก ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ได้จนถึงวันนี้ และได้รับการคุ้มครองสิทธิให้แก่ชุมชนผู้ผลิต ข้าวสังข์หยดในจังหวัดพัทลุง
สำหรับรายละเอียดการ เข้าร่วมโครงการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง หรือข้าวจีไอนั้น เกษตรกรจะต้องรวมกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต และขึ้นทะเบียนสมาชิกไว้ รวมทั้งยอมรับเงื่อน ไขการตรวจรับรองการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และปฏิบัติตาม ขั้นตอนการผลิตตามระบบจัดการคุณภาพ (GAP ข้าว) โดยจะมีการบันทึกการปฏิบัติทุกขั้นตอน ที่สำคัญจะต้องมีการตรวจประเมินรับรองแหล่งผลิตก่อน จึงจะถือว่าผลผลิตที่ได้เป็น ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงของจริง    กระบวนการผลิตข้าว สังข์หยดจึงมีวิธีการ และขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากสมราคา แต่คาดว่าผลตอบแทนด้านชื่อเสียงของสินค้า และรายได้จะคุ้มค่าให้แก่เกษตรกรชาวพัทลุงที่ต้องลง ทุนลงแรงรักษาข้าวพันธุ์ไทยแท้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์

ที่มา : http://health4friends.lnwshop.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น